จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change เผยให้เห็นว่าการปล่อยมลพิษส่วนใหญ่มาจากอาหารที่มีก๊าซมีเทนสูง เช่น ข้าว และสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว นักวิจัยได้ประเมินว่า 75% ของความร้อนที่เกี่ยวข้องกับอาหารเกิดจากอาหารเหล่านี้ ซึ่งหมายความว่าการปล่อยมลพิษทางอาหารเพียงอย่างเดียวอาจทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงเกินขีดจำกัด 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเป็นเกณฑ์สำคัญที่กำหนดโดยความตกลงปารีส (Paris Agreement)
นักวิจัยได้ศึกษาอาหาร 94 ชนิดและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาหารแต่ละชนิด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิสามารถลดลงได้ถึง 55% เพียงแค่ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศที่ร่ำรวยให้อยู่ระดับที่แนะนำทางการแพทย์ ลดการปล่อยมลพิษจากปศุสัตว์และมูลสัตว์ และใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบอาหาร ในส่วนของการลดการบริโภคเนื้อสัตว์นักวิจัยกล่าวว่าการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการรับประทานเนื้อแดงเพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์จากคำแนะนำของ Harvard Medical School สามารถลดอุณหภูมิของโลกได้ 0.2 องศาเซลเซียส โดยในปัจจุบันมีเพียง 1 ใน 3 ของประเทศเท่านั้นที่มีนโยบายที่มุ่งลดการปล่อยมลพิษทางการเกษตรในแผนสภาพภูมิอากาศที่เสนอภายใต้ความตกลงปารีสของสหประชาชาติ
ที่มา : Green Queen สรุปโดย : มกอช.