นักวิจัยในประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนาและทดสอบสูตรโปรไบโอติกแบบใหม่เพื่อควบคุมอาการท้องเสียรุนแรงในลูกวัว เพื่อให้แน่ใจว่าลูกวัวจะมีสุขภาพดีและลดอัตราการเสียชีวิตซึ่งจะลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ โดยสุขภาพของลูกวัวนั้นเป็นส่วนสำคัญของการเลี้ยงสัตว์ โรคที่ส่งผลต่อลูกวัวจะทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อฟาร์มปศุสัตว์ทั้งทางตรงจากลูกวัวตายและทางอ้อมจากน้ำหนักที่ลดลงของลูกวัวที่จะทำให้เกิดการลดผลผลิตตลอดอายุขัยของลูกวัว ในประเทศญี่ปุ่นการติดเชื้อโรตาไวรัส (BRV) และ bovine cryptosporidiosis เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงในลูกวัว โดยโรคอุจจาระร่วงในลูกวัวเกิดจากเชื้อโรคหลายชนิดรวมทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และโพรทิสต์ ซึ่งยาปฏิชีวนะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพอย่างมากในการรักษาอาการท้องเสียจากแบคทีเรีย แต่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอหากสาเหตุการท้องเสียมาจากไวรัสและโพรทิสต์ หรือแบคทีเรียที่ดื้อยาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาการแนวทางป้องกันรักษาแบบใหม่
โปรไบโอติกคือจุลินทรีย์ที่เมื่อรับประทานแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทของโปรไบโอติกต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ที่แสดงให้เห็นว่าโปรไบโอติกนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคต่าง ๆ ย้อนไปในปี 1970 นมเปรี้ยว (FMs) ถูกใช้เป็นโปรไบโอติกในการเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของนมเปรี้ยวนั้นไม่สอดคล้องกับกระบวนการผลิตที่หลากหลาย และยังมีกรณีที่นมเปรี้ยวเองก็เป็นแหล่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง นักวิจัยจึงได้เสนอให้มีการใช้สารทดแทนนมเปรี้ยว (FMRs) ซึ่งอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับโปรไบโอติกคุณภาพสูงและปลอดภัยสำหรับลูกวัว
ที่มา : The Dairy Site สรุปโดย : มกอช.