TH EN
A A A

นานาชาติลุยวิจัยมะเร็งหอยสองฝา

23 February 2566   

                 สถาบัน Pacific Northwest Research Instituteและทีมนักวิจัยร่วมทำการศึกษาว่ามะเร็งที่มีลักษณะคล้ายไวรัสจะแพร่กระจายระหว่างหอยแครงบนชายฝั่งแปซิฟิกและหอยลายบนชายฝั่งแอตแลนติก ปกติแล้วมะเร็งไม่เป็นโรคติดต่อแต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการค้นพบมะเร็งที่แพร่กระจายได้หลายชนิดในธรรมชาติซึ่งนำไปสู่การตายอย่างมีนัยสำคัญเเละหอยสองฝาในทะเล เช่น หอยแมลงภู่ หอยแครง หอยเชลล์ และหอยกาบดูเหมือนจะติดเชื้อได้ง่ายเป็นพิเศษ เมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งที่เกิดในมนุษย์แล้ว ความพิเศษของมะเร็งชนิดนี้คือมีแนวโน้มที่จะสามารถแพร่กระจายติดต่อไปยังสัตว์ประเภทอื่นได้ ซึ่งทำให้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ และชุมชนพื้นเมืองอเมริกันที่อาศัยหอยสองฝาเป็นแหล่งอาหารดั้งเดิม
                 งานวิจัยมะเร็งหอยสองฝาได้จัดสรรทีมนักชีววิทยาทางทะเล นักพันธุศาสตร์ประชากร นักสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ นักชีววิทยาด้านมะเร็ง นักชีววิทยาด้านจีโนมและโมเลกุลจากองค์กรและสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลก โดยคาดว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า ความร่วมมือแบบสหวิทยาการนี้จะเก็บตัวอย่าง วิเคราะห์จีโนม พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และวัดความก้าวหน้าของโรคได้

                 Ryan Crim นักชีววิทยาทางทะเลของ PSRF ซึ่งทำงานร่วมกับชนเผ่า Suquamish ในรัฐวอชิงตัน ได้ให้ความเห็นว่า นักวิจัยจำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการจัดการทรัพยากรของชนเผ่า การอนุรักษ์ทางทะเล และนิเวศวิทยาของโรค หลังจากมีบันทึกการพบมะเร็งในหอยท้องถิ่นที่เดิมนิยมบริโภคกลับกลายเป็นทรัพยากรที่หายากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เผ่า Suquamish พยายามฟื้นฟูประชากรในท้องถิ่นและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภัยคุกคามเพื่อเพิ่มความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับอุบัติการณ์และความรุนแรงของการแพร่ระบาดมะเร็งดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแนวทางบริหารจัดการประชากรหอยสองฝาที่เป็นประโยชน์ต่อชนเผ่าได้
                 ทั้งนี้ นักวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลของสหรัฐฯได้ให้ความเห็นว่า การได้รับความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับพลวัตของการติดเชื้อและกลไกการแพร่เชื้อ จะสามารถทำให้ป้องกันหรือมีการจัดการโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ที่มา : The Fish Site  สรุปโดย : มกอช.

Is this article useful?