TH EN
A A A

ซิมบับเวก้าวนำเกษตรเท่าทันภูมิอากาศ

13 February 2566   

                  ซิมบับเวเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกระดับภูมิภาคของ Southern African Development Community (SADC) ที่ได้รับระบบชลประทานอัจฉริยะที่ส่งเสริมเกษตรเท่าทันภูมิอากาศ (Climate Smart Agriculture: CSA) มาใช้ เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มความยืดหยุ่นต่อภัยแล้ง ซึ่งสภาพภูมิอากาศตลอดจนถึงปัญหาภัยธรรมชาติได้แก่ น้ำท่วม ฝนแล้ง และฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตทางการเกษตร
                  เพื่อผลักดันแนวทางปฏิบัติตามมาตรการเท่าทันภูมิอากาศ SADC ได้จัดตั้งให้ซิมบับเว ร่วมกับบอตสวานา มาลาวี นามิเบีย และแซมเบีย พัฒนาระบบชลประทานอัจฉริยะภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มพันธมิตรการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในแอฟริกาและแปซิฟิค (GCCA+) เพื่อเป็นแนวทางนำร่องการใช้ประโยชน์การใช้เทคโนโลยี CSA มาลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาค
                  SADC กล่าวว่า การเกษตรนั้นยังคงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคิดเป็นสัดส่วนระหว่าง 19%-29% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด และในขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซิมบับเวได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนนี้ ซึ่งรวมถึงการป้องกันแหล่งชลประทาน การก่อสร้างโรงเรือน การติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานระบบชลประทานแบบหยดน้ำที่มีรูเจาะและระบบสูบน้ำที่ขับเคลื่อนด้วยแผงโซลาร์เซลล์เป็นพลังงานหมุนเวียน และการติดตั้งอ่างเก็บน้ำ
                  ปัจจุบันศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการเกษตรของภูมิภาคแอฟริกาใต้ (CCARDESA) กำลังสร้างแรงขับเคลื่อนในประเทศเนื่องจากได้มีการดำเนินโครงการเทคโนโลยีอัจฉริยะด้านภูมิอากาศในเขต Rushinga ทางตะวันออกเฉียงเหนือของซิมบับเว ซึ่งได้ผลเกินความคาดหมายโดยมีผู้ได้รับผลประโยชน์จากการเก็บเกี่ยวและขายพืชผลเพื่อหารายได้ของตนเอง โครงการนี้มีผู้ได้รับประโยชน์จำนวน 101 ราย เป็นผู้ผลิตกะหล่ำปลี มะเขือเทศ และพืชยืนต้นจำนวนมากเพื่อการค้า รวมทั้งมีแนวทางบริหารจัดการรายได้และการลงทุนที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 เพื่อลดผลกระทบของโควิด-19 ต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะด้านภูมิอากาศ
ที่มา : The Chronicle  สรุปโดย : มกอช.

Is this article useful?