หน่วยงานระหว่างประเทศ 2 หน่วยงาน คือ คณะทำงานโรคอ้วนระหว่างประเทศ (IOTF) และองค์กรผู้บริโภคระหว่างประเทศ (CI) ได้ร่วมมือกันพัฒนาหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศ (internationsl code) ในการงานจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอลแก่เด็ก
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับมอบหมายให้จัดทำข้อเสนอแนะเรื่องนี้ ซึ่งจะเริ่มกระบวนการหารือ ภายใน 12 เดือนข้างหน้า IOTF และ CI จึงเรียกร้องให้ WHO เอา code ที่ทั้ง 2 ได้ร่วมกันพัฒนามาใช้เป็นฐานจัดทำข้อเสนอแนะของ WHO
จากข้อมูลของ IOTF เด็ก 177 ล้านคนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีปัญหาน้ำหนักเกินหรืออ้วน และอยู่ภายใต้การคุกคามของโรคที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน ในจำนวนนี้เป้นเด็กมีน้ำหนักเกิน 22 ล้านคนที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 19.9 % ของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนในปี 2549 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 28.2% ในปี 2553
ปัจจุบัน บางประเทศมีการนำแผนงานระดับชาติมาใช้เพื่อควบคุมเรื่องนี้ เช่น สหราชอาณาจักรซึ่งจำกัดการโฆษณาอาหารมีไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง (HFSS) ในรายการทีวีสำหรับเด็ก
มีข้อโต้แย้งเกียวกับข้อเสนอจำกัดเวลาโฆษณาว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูทีวี คนสามารถจะเลือกว่าจะดูเมื่อไร
ในเดือนธันวาคม บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง เช่น เนสส์เล่ เคลลอคค์ ได้ลงนามในข้อตกลงว่าจะยุติการโฆษณาอาหารขยะทั้งหลายกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี นอกจากนี้ สมาพันธือาหารและเครื่องดื่มของหสภาพยุโรป (CIAA)ได้ร่างหลักการการโฆษณาในปี 2547 ซึ่งมีหลายบริษัทได้ยอมรับไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม IOTF กล่าวว่า ข้อเสนอการควบคุมโฆษณาตัวเองของอุตสาหกรรมนั้นจำกัดอยู่เพียงในสหภาพยุโรปและหสรัฐฯ และครอบคุลมเฉพาะเด็ก 12 ปี ซึ่งในปัจจุบันโรคอ้วนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็เพิ่มสูงขึ้นมาก
ข้อเสนอร่วมของ IOTF และ CI ครอบคลุม อาหารที่มีโภชนาการต่ำ พลังงานสูง และมีไขมัน น้ำตาลและเกลือสูง โดยเรีกร้องดังนี้
ห้ามโฆษณาในทีวีและวิทยุอาหารที่ไม่มีผลดีต่อสุขภาพนี้ระหว่าง 6 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม
ห้ามวางจำหน่ายดดยใช้สื่อใหม่ เช่น website เครือข่ายสังคม การส่งต่อข้อความ
ห้ามส่งเสริมอาหารที่ไม่มีผลดีต่อสุขภาพนี้ในโรงเรียน
ห้ามจำหน่ายโดยมีของขวัญฟรี ต๊กตา หรือสิ่งสะสมใดๆซึ่งดึงดูดความสนใจของเด็ก
ห้ามใช้บุคคลมีชื่อเสียง การ์ตูน หรือการแข่งขันใดๆในการโฆษณา
ที่มา : NUTRAingredients