การระบาดใหญ่ของ COVID-19 และสงครามในยูเครน ถือเป็นปัจจัยเชิงลบต่อการยกระดับสถานภาพประเทศทั่วโลกให้พ้นจากวิกฤติความยากจน ที่เดิมตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2573 (2030) หลังจากพบประชากรทั่วโลก 71 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 1 ที่นับเป็นผู้ยากจนอย่างร้ายแรง ในขณะที่ประชากรร่วม 10% อาจมีรายได้เฉลี่ยไม่ถึง 100 บาท/วัน ธนาคารโลกระบุ
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางวิกฤติเหล่านี้ หากเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่น่าสนใจ อาจส่งผลให้ประชากรประมาณร้อยละ 70 ของกลุ่มดังกล่าว สามารถเพิ่มระดับรายได้ขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ และอาจบรรลุเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ และสามารถสร้างการเกื้อหนุนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจทั่วโลกได้ในระยะยาว จากที่ปัจจุบันพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วต่างใช้จ่ายและบริโภคน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
ธนาคารโลกกล่าวว่าประเทศต่างๆ ควรส่งเสริมความร่วมมือ หลีกเลี่ยงการอุดหนุนในวงกว้างแต่ให้มุ่งเน้นไปที่การเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้งใช้มาตรการจัดเก็บรายได้ของรัฐที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประชากรกลุ่มยากจน เช่น ภาษีทรัพย์สินและภาษีคาร์บอน
ที่มา : Reuters/World Bank สรุปโดย : มกอช.