การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบ biofloc หรือตะกอนอินทรีย์หมุนเวียน จะส่งผลให้สัตว์น้ำสามารถบริโภคตะกอนอินทรีย์ที่มีอินทรียสารและสมดุลจุลินทรีย์ในระบบการเลี้ยงหมุนเวียน โดยต้องมีการคำนวณและบริหารจัดการเพื่อรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบการเลี้ยง โดยเฉพาะอัตราส่วนคาร์บอน-ไนโตรเจน (C:N ratio)
ทีมวิจัยร่วมระหว่างอียิปต์และซาอุดิอาระเบียได้ทบทวนวรรณกรรมที่ประเมินผลกระทบของการใช้แหล่งคาร์บอนที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นและการบริโภคที่แปรปรวนต่อคุณภาพน้ำ ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการใช้อาหารของกุ้ง รวมทั้งทดสอบแหล่งคาร์บอนหลายแหล่งสำหรับระบบ biofloc ซึ่งรวมถึงแป้ง กลูโคส ชานอ้อย กากน้ำตาล รำข้าว แป้งข้าวเจ้า รำข้าวสาลี แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง แป้งกรัม ดอกข้าวโพด และเศษวัสดุทางการเกษตร ซึ่งแม้ว่าอาจไม่ได้มีความเหมาะสมใน biofloc ทุกแห่ง แต่วัสดุหลายชนิดก็มีแนวโน้มเป็นสารตั้งแต่ biofloc ที่ดี โดยเฉพาะคุณสมบัติในการลดแอมโมเนียภายใต้ระบบ โดยพบว่ากุ้งขาวแวนนาไมที่เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีนต่ำกว่าภายใต้ระบบ biofloc สามารถชดเชยการใช้อาหารที่มีโปรตีนสูงได้
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://www.mdpi.com/2075-1729/12/6/888
ที่มา : TheFishSite สรุปโดย : มกอช.