เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Affairs Agency; CAA) ของญี่ปุ่น ได้ประกาศแก้ไขระเบียบการติดฉลากโภชนาการ และฉลากอาหารดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) โดยกำหนดให้สินค้าเกษตร 9 รายการ ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง เรพซีด เมล็ดฝ้าย อัลฟัลฟ่า ผักกาดฝรั่ง (Sugar Beet) มะละกอ และผักกาดเขียวปลี (Mustard Greens) รวมถึงอาหารแปรรูปที่ใช้สินค้าเกษตรข้างต้นเป็นวัตถุดิบโดยสามารถตรวจพบดีเอ็นลูกผสม ต้องติดฉลาก GMOs ซึ่งการติดฉลากภาคบังคับนี้ มีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2565 ส่วนการติดฉลากภาคสมัครใจจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 โดยสำหรับการติดฉลากที่ระบุว่า "not genetically modified" นั้น มีเพียงผลิตภัณฑ์ที่ตรวจไม่พบการปนเปื้อนส่วนประกอบของวัตถุดิบที่เป็น GMOs เท่านั้น จึงจะสามารถระบุว่า "not genetically modified" ได้ ในขณะที่หากพบการปนเปื้อนส่วนประกอบของวัตถุดิบที่เป็น GMOs ถึงแม้จะต่ำกว่าร้อยละ 5 ก็ไม่สามารถอ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการดัดแปรพันธุกรรมได้ แต่สามารถระบุว่า "separate management for production and sales" แทน
• เอกสารประกอบ CAA Notification 0330 : https://bit.ly/384i7C0
• วิธีวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร : https://bit.ly/3kIShX2
• คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการติดฉลากอาหาร : https://bit.ly/3sdkhWI
ที่มา : CAA-JP สรุปโดย : มกอช.