EFSA ได้ศึกษาและเสนอความเห็นทางวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนกลยุทธ์เฝ้าระวังให้กับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโรค ASF เพื่อใช้เป็นปัจจัยตัดสินว่าประเทศนั้นๆ ปลอดจากการแพร่ระบาดของโรค ASF ในประชากรหมูป่าเมื่อใด โดยประกอบด้วยการดำเนินการเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะเฝ้าระวังตามปกติ (ระยะคัดกรอง) และระยะเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด (ระยะการยืนยัน) ภายใต้แนวทางดังกล่าว EFSA ได้ทดลองใช้แบบจำลองการศึกษาและให้ข้อสังเกตว่า :
- ความแม่นยำของวิธีการนี้จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนซากหมูป่าที่สามารถรวบรวมและทดสอบได้
- การเพิ่มระยะเวลาในการตรวจสอบที่นานขึ้นสามารถเพิ่มโอกาสในการตรวจสอบว่าไวรัส ASF ไม่ได้แพร่กระจายอีกต่อไป
- การเฝ้าระวังเชิงรุกโดยการออกล่าหมูป่ามีข้อจำกัดต่อการส่งผลถึงประสิทธิภาพของกลยุทธ์
นอกจากนั้นรายงานความเห็นดังกล่าวยังได้เสนอแนวทางปฏิบัติที่สามารถดำเนินการได้จริงทั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้สามารถศึกษารายงานดังกล่าวได้จาก https://www.efsa.europa.eu/en/efsajournal/pub/6419
ที่มา : https://www.efsa.europa.eu/en/news/african-swine-fever-devising-exit-strategy-affected-countries สรุปโดย : มกอช.