การกำหนดปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันและกฎระเบียบที่บังคับการแสดงฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหาร ถือเป็นมาตรการช่วยส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค เพราะแม้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามิน หลาย ๆ ชนิด ก็อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้หากได้รับเกินพอดี
วิตามินดีเป็นหนึ่งในวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก รวมไปถึงสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งแหล่งอาหารสำคัญที่ให้วิตามินดีคือไข่แดง เนื้อสัตว์ และปลาที่มีไขมัน ในทางกลับกันวิตามินดีก็สามารถสะสมในร่างกายจนถึงระดับที่เป็นพิษได้ จึงต้องมีการกำหนดปริมาณที่แนะนำต่อวันไว้ แต่กฎระเบียบดังกล่าวไม่ตรงกันในสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป กล่าวคือสหราชอาณาจักรกำหนดที่ 10 ไมโครกรัมต่อวัน ในขณะที่สหภาพยุโรปกำหนดที่ 5 ไมโครกรัมต่อวัน ทำให้ “ร้อยละของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน” กลายเป็นนิยามที่สร้างความสับสนระหว่างผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ในส่วนของกฎระเบียบของวิตามินดีและสารอาหารเติมแต่งอื่น ๆ ยังมีข้อกำหนดการอนุญาตให้ใช้ หรือรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งรวมไปถึงประเด็นความคงทนของวิตามินต่อกระบวนการผลิตและเก็บรักษา ซึ่งผู้ผลิตจำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลทั้งด้านกฎหมาย วิชาการ และเทคนิคให้เข้าใจอย่างชัดเจน ก่อนดำเนินการผลิตและจัดจำหน่าย
ที่มา : https://www.foodnavigator.com/ สรุปโดย : มกอช.