การฆ่าและชำแหละสัตว์เพื่อเป็นอาหารเป็นกิจกรรมการผลิตที่สามารถสร้างผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ปฏิบัติงาน ชุมชนรอบข้าง สภาพแวดล้อม และผู้บริโภค ในประเทศพัฒนาแล้วโดยทั่วไปจึงมีกฎระเบียบต่าง ๆ กำหนดควบคุมดูแลไว้ เพื่อจำกัดผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด แต่การควบคุมดูแลเหล่านี้อาจยังไม่ครอบคลุมเพียงพอในหลายประเทศ
ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกายังอยู่ในระหว่างการพัฒนา กิจกรรมการประกอบการในด้านต่าง ๆ จึงอาจยังไม่มีกฎระเบียบควบคุมและระบบมาตรฐานอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการฆ่าและชำแหละสัตว์ด้วย ซึ่งผลการสำรวจภายใต้งานวิจัยจากประเทศไนจีเรียพบว่าโรงฆ่าสัตว์ในไนจีเรียยังมีการปฏิบัติงานอย่างไม่เหมาะสม ผิดหลักมาตรฐานและสุขลักษณะหลายประการทั้งการวางเนื้อสัตว์และส่วนที่ชำแหละออกมาแล้วปะปนกันบนพื้น ล้างและปล่อยน้ำเสียที่ปนไปด้วยเลือดและสิ่งปฏิกูลในทางเดินอาหารของสัตว์ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ แล้วล้างเนื้อสัตว์ในน้ำจากแหล่งเดียวกัน ซึ่งทำให้เชื้อก่อโรคสามารถปนเปื้อนและก่ออันตรายให้กับผู้บริโภคได้ นอกจากนั้นการปล่อยของเสียจากกระบวนการลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติยังทำให้เชื้อโรคแพร่ไปในชุมชนแวดล้อมและธรรมชาติได้อีกเป็นวงกว้าง ทั้งเชื้อเหล่านั้นยังสร้างแก๊สมีเทนซึ่งเป็นแก๊ส
ในประเทศไทยแม้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในท้องตลาดส่วนใหญ่จะมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่มีระบบควบคุมคุณภาพได้มาตรฐานตามกฎหมายกำหนด แต่ผู้บริโภคก็ควรตระหนักถึงความสำคัญและตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่เลือกซื้อมาจากสถานประกอบการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยมีสัญลักษณ์รับรองคุณภาพและความปลอดภัย เช่น Q หรือโครงการเขียงสะอาดของกรมปศุสัตว์ เป็นต้น
ที่มา : https://theconversation.com/ สรุปโดย : มกอช.