TH EN
A A A

FDA ยังไม่ฟันธงสาเหตุปนเปื้อนอีโคไล O157:H7 กลางปี 62

29 May 2563   

                เชื้ออีโคไล (Escherichia coli: E. coli) โดยเฉพาะสายพันธุ์ O157:H7 หรือสายพันธุ์ที่สร้างสารพิษ Shiga Toxin ได้ (Shiga Toxin producing E.coli: STEC) สายพันธุ์อื่น ๆ เป็นเชื้อก่อโรคร้ายแรงชนิดหนึ่งที่สามารถปนเปื้อนมากับอาหาร ที่ผ่านกระบวนการเตรียมอย่างไม่ถูกสุขลักษณะหรืออาหารบริโภคดิบ เช่น ผักสลัด ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงได้หลายกรณี ตามข้อมูลรายงานประเมินความเสี่ยงและกักกันสินค้าที่เผยแพร่อย่างต่อเนื่องจากหลายประเทศ
                เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ออกรายงานการตรวจสอบกรณีเชื้ออีโคไลปนเปื้อนในผักกาดหวาน (Romaine Lettuce) ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปี 2562 ถึง 3 กรณี ในเวลาใกล้เคียงกัน ส่งผลให้มีผู้ป่วยรวมถึง 188 คน ผลวิเคราะห์โดยสรุปชี้ว่าการปนเปื้อนอาจเกิดจากมูลปศุสัตว์ที่เลี้ยงในทุ่งหญ้าบริเวณใกล้เคียง การชะล้างของน้ำธรรมชาติเข้าสู่แปลง ตลอดจนถึง ลม สัตว์ ยานพาหนะ หรือทางน้ำภายในแปลง โดยยังไม่อาจชี้ชัดได้ (ศึกษาข้อมูลจากรายงานฉบับเต็มจาก FDA ได้ที่ https://www.fda.gov/food/outbreaks-foodborne-illness/factors-potentially-contributing-contamination-romaine-lettuce-implicated-three-outbreaks-e-coli?utm_campaign=CFSANCU_LeafyGreens_05212020&utm_medium=email&utm_source=Eloqua )
                อนึ่ง ในประเทศไทยก็มีการบริโภคผักสดทั้งในลักษณะผักสลัดและรูปแบบอื่น ๆ มากเช่นกัน เกษตรกร ผู้รวบรวม จัดจำหน่าย และเตรียมเพื่อการบริโภค ตลอดจนผู้บริโภคที่ซื้อผักสดมารับประทานเองก็ควรตระหนักถึงความเสี่ยงนี้ และจัดการควบคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค โดยทาง FDA ก็ออกแผนปฏิบัติการควบคุมความเสี่ยงสำหรับผักสดในสหรัฐฯ ตามเอกสาร https://www.fda.gov/food/foodborne-pathogens/2020-leafy-greens-stec-action-plan?utm_campaign=CFSANCU_LeafyGreens_05212020&utm_medium=email&utm_source=Eloqua ซึ่งผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปศึกษาและประยุกต์หลักการใช้ประโยชน์ได้ตามความเหมาะสม    
  

ที่มา : https://www.foodsafetynews.com/  สรุปโดย : มกอช.

Is this article useful?