องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำหลักเกณฑ์ใหม่ สำหรับกลุ่มบุคคลที่ปฎิบิตงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก และเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดนก เนื่องจากตั้งแต่ปลายปี 2562 ที่ผ่านมา ในสหภาพยุโรปพบการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อดังกล่าวจำเป็นจะต้องใช้มาตรการป้องกัน และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกป่วยและตาย หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก องค์การอนามัยโลกจึงได้แนะนำหลักเกณฑ์การปฎิบัติให้แก่กลุ่มบุคคลที่ปฎิบัติงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไข้หวัดนก หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง อาทิ เจ้าหน้าที่ภายในฟาร์ม สัตวแพทย์ และผู้เชือด ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน พร้อมปฎิบัติตามหลักการสุขอนามัยที่ดี ในขณะที่ หน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่นควรดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มบุคคลที่ปฎิบัติงานดังกล่าว พร้อมติดตามข้อมูลสุขภาพเป็นระยะเวลา 7 วัน ซึ่งหากพบบุคคลแสดงอาการป่วยควรเข้ารับการรักษาทันที
ทั้งนี้ มาตรการป้องกันโดยทั่วไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดนก ได้แก่
- การหลีกเลี่ยงการสัมผัส/ใกล้ชิดกับสัตว์ปีกป่วย/ตายโดยตรง หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าว และหากพบสัตว์ปีกแสดงอาการป่วย/ตายควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- อย่าสัมผัสสัตว์ปีกป่วย/ตายด้วยมือเปล่า หากจะดำเนินการจัดการสัตว์ปีกดังกล่าวควรสวมถุงมือ หรือถุงพลาสติก และล้างมือด้วยสบู่ และยาฆ่าเชื้อหลังดำเนินเสร็จสิ้น
- ควรติดตามด้านความปลอดภัยของอาหาร และปฎิบัติตามมาตรการสุขสักษณะของอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับการปฎิบัติตามหลัก 5 ประการสู่ความปลอดภัยอาหาร (Five keys to safer food) ขององค์การอนามัยโลก
ศึกษาเพิ่มเติม http://www.euro.who.int/en/health-topics/emergencies/pages/news/news/2020/01/increase-in-bird-flu-outbreaks-whoeurope-advice-for-handling-dead-or-sick-birds
ที่มา : https://www.poultryworld.net/ สรุปโดย : มกอช.