แอฟริกาใต้เพิ่มความเข้มงวดข้อกำหนดผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ตั้งเป้าลดการระบาดของเชื้อ ลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส(Listeria monocytogenes) ซึ่งเคยเกิดการระบาดมาแล้วในปี 2560 และ 2561 มีจำนวนผู้ติดเชื้อถึง 1,060 ราย และมีผู้เสียชีวิตกว่า 216 ราย โดยการระบาดครั้งใหญ่สุดในแอฟริกาใต้อยู่ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2560 และค้นพบต้นเหตุการแพร่ระบาดเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2561 โดยมีสาเหตุจากกระบวนการผลิตอาหารพร้อมรับประทาน(ready to eat : RTE) ในเมือง Polokwans
ข้อกำหนดในส่วนของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปที่ปรับปรุงใหม่ มีเป้าหมายเพื่อปกป้องผู้บริโภคจากปัจจัยที่มีความเสี่ยงสูงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของผู้บริโภค โดยเกิดจากความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม(DTI) กระทรวงสาธารณสุข(DoH) และ กระทรวงเกษตร ปฏิรูปที่ดิน และพัฒนาชนบท(DALRRD) เพื่อให้หน่วยงาน National Regulator for Compulsory Specification(NRCS) ใช้ข้อกำหนดข้างต้นในการตรวจสอบโรงงานผลิตอาหาร
ข้อกำหนดดังกล่าวมีการปรับใช้กับ คู่มือ การเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ การทำความเย็น การแช่แข็ง การแช่เย็น ฉลาก ตราสินค้า การเก็บรักษาอุณหภูมิ และ การผลิตเนื้อสัตว์พร้อมรับประทาน รวมไปถึงด้านเชื้อจุลินทรีย์ และข้อกำหนดความปลอดภัยอาหารที่เกี่ยวข้อง แต่ เนื้อสัตว์บรรจุกระป๋อง ไส้กรอกboereworsดิบ เครื่องเทศ หรือไส้กรอกผสมเครื่องเทศ เนื้อสัตว์ปีก เนื้อแดง เช่น วัว แกะ แพะ และสุกร ทั้งที่ผ่านหรือไม่ผ่านกรรมวิธีเพื่อให้ผลิตภัณฑ์คงลักษณะสด ทั้งในรูปแบบทั้งตัวและผ่านการตัดแต่ง ไม่ว่าในรูปแบบสดหรือแช่แข็ง จะอยู่ในข้อกำหนดส่วนอื่น
ทั้งนี้ กฎหมายผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูปได้ถูกประกาศในวันที่ 8 สิงหาคม 2562 และจะมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคม 2562
ที่มา : www.foodsafetynews.com สรุปโดย : มกอช.