นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สามารถสังเคราะห์สารเคมีที่มีโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายกับสารสกัด cannabidiol (CBD) ซึ่งเป็นสารสกัดที่ได้จากกัญชงหรือกัญชา ที่ช่วยในการรักษาโรคบางชนิดและไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมา
ในปัจจุบันกระแสของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ CBD กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติการบรรเทาอาการของความวิตกกังวล โรคลมชัก โรคต้อหิน และ โรคไขข้อ พร้อมทั้งไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมา แต่แหล่งที่มาที่ได้จากการสกัดกัญชา หรือกัญชง อาจทำให้มีปัญหาด้านกฎหมายในบางรัฐหรืออยู่ภายใต้ข้อกำหนดขององค์กร ซึ่งอาจเกิดจากการที่โครงสร้าง CBD สามารถเปลี่ยนเป็น tetrahydrocannabinol (THC) ที่เป็นสารที่ทำให้เกิดอาการมึนเมาของกัญชา
สารสังเคราะห์ 8,9-Dihydrocannabidiol (H2CBD) ที่สามารถสังเคราะห์ได้นี้ เป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายกับ CBD ที่สกัดได้จากธรรมชาติ ซึ่งสารสังเคราะห์ชนิดนี้ใช้สารเคมีในอุตสาหกรรมเป็นสารตั้งต้นโดยมีต้นทุนไม่สูง และนอกจากนี้การที่ไม่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างเป็น THC ได้ ทำให้ไม่เกิดอาการมึนเมา ทั้งยังสามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ง่ายกว่าจากสารสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ อาจทำให้การเพาะปลูกกัญชงหรือกัญชาในรูปแบบเกษตรกรรมเพื่อรักษาโรคมีความจำเป็นน้อยลง และลดปัญหาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากกัญชา เนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกกัญชา
นักวิจัยพบว่า H2CBD มีประสิทธิภาพในการลดความถี่และความรุนแรงของอาการชักได้เทียบเท่ากับ CBD แม้ยังคงต้องศึกษาในหนูทดลองเป็นการเพิ่มเติม แต่หากบรรลุเป้าหมายในการศึกษาทางคลีนิคสำเร็จคาดว่าจะทำให้สามารถใช้ H2CBD เป็นยาต้านอาการชักในผู้ป่วยระยะชั่วคราวได้