TH EN
A A A

อุตฯไข่ทั่วโลกตระหนักถึงการดื้อยาต้านจุลชีพในไข่

2 October 2561   
                คณะกรรมการไข่นานาชาติ (The International Egg Commission :IEC) และสมาชิก สนับสนุน และส่งเสริม ความรับผิดชอบของการใช้ยาต้านจุลชีพ (antimicrobials) แบบถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ไข่ในระยะยาว เนื่องจากเมื่อใช้ยาต้านจุลชีพในปริมาณที่สูงจะส่งผลให้จุลชีพมีโอกาสดื้อยา และนำไปสู่การตกค้างยาต้านจุลชีพในการผลิตไข่ ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ และการทำฟาร์มที่ดีถือเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันโรค ซึ่งทาง IEC ได้เห็นชอบแนวทางในการปฎิบัติดังนี้
  - ยอมรับสถานการณ์ปัจจุบันว่ายาต้านจุลชีพ (Accepts that antimicrobial resistance :AMR) ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ และสัตว์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกังวล
  - แม้ว่าอุตสาหกรรมไข่จะเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้ยาต้านจุลชีพในวงจำกัด แต่พร้อมที่จะประสานงาน เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหา AMR ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆที่เป็นหน่วยงานทางการแพทย์ระดับสากลตามยุทธศาสตร์ One Health ของ WHO OIE และ FAO
  - สนับสนุนให้อุตสาหกรรมไข่ไก่ลดการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ยาชนิดที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพสัตว์ และมนุษย์
  - เชื่อว่าสุขภาพ และสวัสดิภาพที่ดีของสัตว์ปีกอยู่ในคงามรับผิดชอบของผู้ประกอบ โดยควรใช้ยาต้านจุลชีพอย่างถูกต้อง
                ทั้งนี้ทาง IEC จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ One Health ของ WHO OIE และ FAO ในการจักการกับการยอมรับสถานการณ์ยาต้านจุลชีพ (AMR) อีกทั้งยังสนับสนุนการทำงานร่วมกับองค์การระหว่างรัฐบาล รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุผลที่ดีที่สุดสำหรับมนุษยชาติ โดยผู้ผลิตทุกรายควรได้รับทราบถึงองค์ความรู้ปัจจุบันเกี่ยวกับ AMR โดยยาต้านจุลชีพควรใช้ภายใต้การกำกับดูแลของสัตวแพทย์เท่านั้น
 
ที่มา: thepoultrysite.com สรุปโดย: มกอช.

Is this article useful?