TH EN
A A A

EU ประกาศเปลี่ยนการสุ่มตรวจผักจากไทย

8 January 2561   

             
   เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560 คณะกรรมาธิการยุโรปได้พิจารณาแก้ไขมาตรการเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจ ครั้งที่ 27 ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2017/2298 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                • มาตรการการสุ่มตรวจผักจากไทย ได้ยกเลิกการตรวจหาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในสินค้าผักกลุ่มมะเขือสด แช่เย็น และแช่แข็ง ลงเหลือระดับร้อยละ 20 แต่ยังคงการตรวจหาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในถั่วฝักยาวสด แช่เย็น และแช่แข็งที่ระดับร้อยละ 20 เช่นเดิม รวมไปถึงยังคงตรวจหาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 10 ในพริกสด แช่เย็น และขยายการสุ่มตรวจสินค้าดังกล่าวไปยังพริกแช่แข็งเพิ่มเติมอีกด้วย

                • มาตรการการสุ่มตรวจผักจากประเทศอื่น
                - ได้เพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 10 ในพริกสด แช่เย็น และแช่แข็ง ที่นำเข้ามาจากอินเดีย และปากีสถาน
                - คงการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 50 ในพริกสด พริกแช่เย็น พร้อมขยายการตรวจสอบสินค้าดังกล่าวไปยังพริกแช่แข็ง ที่นำเข้าจากเวียดนาม
                - คงตรวจสารอะฟลาทอกซินตกค้างที่ระดับร้อยละ 10 ในถั่วพิซตาซิโอมีเปลือก และปลอกเปลือก และขยายการสุ่มตรวจครอบคลุมไปยังถั่วพิสตาซิโอคั่วเพิ่มเติมด้วย
                - ประกาศยกเลิกการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในองุ่นที่นำเข้าจากอียิปต์ จากเดิมเคยสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 20
                - ได้กำหนดนิยายขององุ่นแห้ง (CN Code 080620) ให้ครอบคลุมไปยังองุ่นแห้งหั่น หรือบดจนละเอียด ที่ไม่ผ่านกระบวนการใดๆ
                • การอนุโลมข้อกำหนด ได้แก่ สินค้าเน่าเสียง่าย หรืออยู่ในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งหากมีการตรวจสอบ อาจเกิดความเสี่ยงต่อสุขอนามัยอาหาร หรือเกิดความเสียหายกับสินค้าได้ รวมถึงได้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ณ DPE กับเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าดังกล่าวจะไม่ถูกแปรสภาพตลอดการตรวจสอบ และมีการรายงานผลเป็นไปตามข้อกำหนด
                ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 3 วันหลังจากประกาศ (ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2560) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งเเต่วันที่ 1 มกราคม 2561

 

 ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ สรุปโดย: มกอช. 

Is this article useful?