ทีมนักวิจัยร่วมของอังกฤษและเดนมาร์กพบข้าวสาลีพันธุ์พิเศษมีเอนไซม์ไฟเตสในปริมาณสูง ช่วยลดการเติมฟอสฟอรัสเพิ่มเติมในอาหารสัตว์ปีก
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Nottingham Trent และมหาวิทยาลัย Aarhus ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพืชอาหารสัตว์ปีก โดยมุ่งเป้าหมายในการผลิตพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพสัตว์โดยเฉพาะพัฒนาการของโครงกระดูก และล่าสุดพบข้าวสาลีสายพันธุ์พิเศษที่มีเอนไซม์ไฟเตสที่ใช้ในการย่อยไฟเตทให้เป็นฟอสฟอรัส ที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมอาหาร
ทั้งนี้ ทีมวิจัยให้ความเห็นว่าพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ส่วนใหญ่แม้จะมีส่วนประกอบของฟอสฟอรัสในรูปไฟเตท แต่เมื่อสัตว์ที่บริโภคเข้าไปจะไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ เนื่องจากไม่มีเอนไซม์สำคัญที่ชื่อไฟเตสในการย่อย ทำให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์ปีกต้องเติมธาตุอาหารฟอสฟอรัสลงไปในอาหารสัตว์ ซึ่งประมาณต้นทุนถึงปีละกว่า 1.3 พันล้านยูโร (ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท)