นักวิจัยมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ได้ยื่นคำขออนุญาตดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) ข้าวสาลีในแปลงทดลองไปยังกระทรวงสิ่งแวดล้อมอาหารและกิจการชนบท และได้หารือและคาดการณ์ว่าจะใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งหากได้รับอนุญาตทีมนักวิจัยวางแผนจะปลูกข้าวสาลี GMO ช่วงเดือนเมษายน ปี 2559
ทีมนักวิจัยได้ใช้เทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมแบบใหม่จะช่วยให้พืชต้านทานโรคและเพิ่มผลผลิตข้าวสาลีโดยผ่าเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลีและยิงอนุภาคทองคำที่เคลือบด้วย DNA ของเอนไซม์ SBPase เข้าไป ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าว มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงและพบว่าช่วยให้เพิ่มผลผลิตได้ถึง 20-40%
อนึ่ง แม้ว่าในช่วงปี 2533 จะมีการประท้วงต่อต้านพืช GMO โดยพาดหัวข่าวสร้างหวาดกลัวให้แก่ประชาชนที่ต่อต้านเทคโนโลยี GMO และ กลัวการปนเปื้อนกับพืชธรรมชาติ แต่ทางนักวิจัยก็ยังคงเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนไปตามท้องเวลาอีกครั้งได้ มีงานวิจัยมากมายที่เผยแพร่ให้แก่ประชาชน ได้รับทราบถึงประโยชน์ด้านการเกษตรแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารในอนาคตได้ตาม ผลการวิจัยที่เผยว่าอีก 20 ปี ข้างหน้า โลกต้องการอาหารเพิ่มถึงร้อยละ 40 และในปี 2593 ต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้นถึงร้อย 70