ผลการวิจัยสถาบัน Pirbright สหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นว่ายีนของไก่บางชนิดมีความต้านทานต่อโรคไข้หวัดนก โดยผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่าพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือมีความต้านทานเชื้อไวรัส นักวิทยาศาสตร์สาขาชีวภาพทางสัตวแพทย์กล่าวว่า การทำความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างยีนที่แตกต่างกันกับปฎิกิริยาตอบสนองต่อเชื้อไวรัส เป็นสิ่งสำคัญก่อนที่จะศึกษาเรื่องการแพร่กระจายของโรค นอกจากนี้ผลการวิจัยดังกล่าวยังให้ความสำคัญกับเรื่องจำนวนของปัจจัยที่สัมพันธ์กับห่วงโซ่ในการติดเชื้อและการควบคุมกลไกซึ่งได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ
จากการวิจัยพบว่านกที่ติดเชื้อไวรัส แต่มียีนที่ทนต่อการเกิดโรคจะเพียงแค่รับเชื้อเข้าผ่านสู่ทางเดินหายใจส่วนบนในช่วงเวลาที่จำกัด ในขณะที่นกที่มีความไวต่อการเกิดโรคนั้นจะมีไวรัสอยู่ในอุจจาระเป็นเวลานาน นักวิจัยค้นพบว่านี่เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันของการแพร่กระจายของเชื้อและยีนที่มีความต้านไวรัสได้
นอกจากนี้ผลสรุปการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าอาจเป็นเพราะยีนที่มีความต้านทานการติดเชื้อในสัตว์ที่สามารถหยุดการแพร่กระจายไวรัสเมื่อเข้าสู่ภายในร่างกาย และได้วางแผนจะศึกษาเกี่ยวกับกลไกของพันธุกรรม ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเพาะพันธุ์สัตว์ปีกเช่นเดียวกับการรักษาไข้หวัดมนุษย์ในอนาคต
ที่มา : thepoultry site สรุปโดย : มกอช.