คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission : EC ) เสนอผลการพิจารณาการอนุญาตให้ใช้สิ่งมีชิวิตที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organism : GMOs) เพื่อผลิตเป็นอาหารและอาหารสัตว์ จากที่ได้เสนอไปยังสภายุโรปเมื่อเดือนกรกฏาคม 2557 โดยการพิจารณาครั้งนี้ได้นำข้อคิดเห็นซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของประชาชนและรัฐบาลแห่งชาติของยุโรปเข้ามาร่วมการพิจารณาด้วย
ความคืบหน้าผลการพิจารณาการอนุญาตดังกล่าวทาง EC ได้เสนอให้มีการแก้ไขการออกกฎหมาย โดยประเทศสมาชิกจะมีอิสระมากขึ้นในการกำหนดระเบียบและการอนุญาตด้าน GMOs ในอาหารและอาหารสัตว์โดย ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนชาวยุโรป ซึ่งสะท้อนไปยังจุดยืนด้านนโยบายของรัฐบาลในแต่ละประเทศสมาชิกซึ่งจะสอดคล้องกับหลักการเสริมอำนาจปกครอง (subsidiarity) ในการให้สิทธิ์สมาชิกฯ เสนอความคิดเห็นอย่างอิสระต่อประเด็นการอนุญาตให้ใช้ GMOs
ทั้งนี้ สหภาพเกษตรกรแห่งชาติ (The National Farmer Union : NFU) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อเสนอของ EC โดยหัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ NFU กล่าวว่า การอนุมัติให้ใช้อาหารและอาหารสัตว์ที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม (GM feed and food) เป็นประเด็นพิจารณาที่ต้องอาศัยข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (scientific evidence) ประกอบ ซึ่งอาจมีผลต่อการพิจารณาการนำเข้าสินค้าจาก EU รวมทั้งคุกคามต่อสถานภาพตลาดเดียวของ EU ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นเป็นภัยต่อการแข่งขันและสร้างความเสียหายทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน
ปัจจุบันต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์มีผลต่อต้นทุนการผลิตในฟาร์มปศุสัตว์ (farm production) โดยเฉพาะสุกรและสัตว์ปีก โดยมีสัดส่วนถึงระหว่าง 55-65 % หากราคาอาหารสัตว์มีการปรับตัวสูงขึ้นย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งยังพบว่าโปรตีนอาหารสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศยังมีที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมในสัดส่วนที่สูงอีกด้วย
ที่มา: The Fish Site สรุปโดย: มกอช.