TH EN
A A A

US วางแผนรับมือสารปฏิชีวนะในสัตว์ทั่วโลกแนวโน้มเพิ่ม 67%

22 April 2558   

                นักวิจัยสหรัฐฯคาดการณ์ว่าตั้งแต่ปี 2553-2573 จะมีการใช้สารปฏิชีวนะในสัตว์เพิ่มขึ้น 67 % จาก 63,151 ตัน เพิ่มเป็น 105,596 ตัน เนื่องจากความต้องการบริโภคโปรตีนจากสัตว์เพิ่มขึ้นอีกทั้งปัจจัยด้านเทคโนโลยีการผลิตเกี่ยวกับสัตว์มีความทันสมัยมากขึ้น  ซึ่งจากงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารงานวิจัยวิทยาศาสตร์นานาชาติของสหรัฐฯ (National Academy of Sciences of the United States of America  : PNAS) ได้กล่าวถึงแนวโน้มการใช้สารปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์กลุ่มปศุสัตว์ดังนี้
                1.แม้ในปัจจุบันการทำปศุสัตว์จะพบปัญหาการเกิดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial resistance) อย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีการควบคุมการใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม  โดยพบว่ากลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางมีการใช้ยาต้านจุลชีพ (antimicrobials) เพิ่มขึ้นส่งผลให้แบคทีเรียมีแนวโน้มที่จะเกิดการต้านทานยาต้านทานจุลชีพมากขึ้นจนเกิดการดื้อยาและต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงโดยไม่จำเป็น
                2.ประเทศที่มีระดับรายได้สูง พบว่ามีการใช้สารปฏิชีวนะในปริมาณสูงเช่นกัน นักวิจัยได้ทำการศึกษาความเหมาะสมในการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยพิจารณาจากแผนการใช้ยาต้านจุลชีพในอาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ระหว่างปี 2553-2573 (Map antimicrobial use in food animals for 2010 and 2030) ร่วมกับปัจจัยต่อไปนี้
                   - แผนที่ความหนาแน่นในการทำปศุสัตว์  (Maps of livestock densities)
                   - การคาดการณ์เศรษฐกิจและความต้องการสินค้าเนื้อสัตว์
                   - การคาดการณ์ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพในการทำปศุสัตว์
               3.ประเทศบราซิล ,รัสเซีย ,อินเดีย ,จีนและ แอฟริกาใต้  คาดว่าจะมีการใช้ยาต้านจุลชีพเพิ่มขึ้นถึง 99%
               4.ประมาณค่าเฉลี่ยการใช้ยาต้านจุลชีพในปศุสัตว์แต่ละชนิด เป็นดังนี้
                  - โคเนื้อและปศุสัตว์ใช้ยาต้านจุลชีพ 45 มิลลิกรัมต่อผลผลิต 1 กิโลกรัม
                  - ไก่ใช้ยาต้านจุลชีพ 148 มิลลิกรัมต่อผลผลิต 1 กิโลกรัม
                  - หมูใช้ยาต้านจุลชีพ 172 มิลลิกรัมต่อผลผลิต 1 กิโลกรัม
              ทั้งนี้ผู้วิจัยคาดว่าในประเทศรายได้ปานกลางระบบการทำเกษตรแบบวงกว้าง (extensive farming ) จะถูกแทนที่ด้วยการเกษตรแบบเข้มข้น (Intensive Farming)  ซึ่งเป็นการทำเกษตรที่ต้องการผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ในอัตราสูง และมีแนวโน้มที่จะเกิดการใช้ยาต้านจุลชีพในขนาดต่ำกว่าที่ใช้รักษาโรค (sub-therapeutic doses) อย่างต่อเนื่องและส่งผลให้เชื้อเกิดการดื้อยา หากยังไม่มีการยับยั้งการใช้ยาต้านจุลชีพในปริมาณสูงและการจำกัดการใช้ยาต้านจุลชีพของสัตวแพทย์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ในระยะยาว

 

ที่มา: The Meat Site สรุปโดย: มกอช.

 

 

 

Is this article useful?