หน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ได้รายงานผลการประเมินความเสี่ยงความปลอดภัยของสาร bisphenol A (BPA) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของพลาสติกที่เป็นวัตถุดิบในภาชนะบรรจุและวัสดุสัมผัสอาหารที่เคยมีรายงานการตรวจด้านความเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งอาจตกค้างอยู่ในอาหารและเครื่องดื่ม การบริโภคหรือจากซึมผ่านผิวหนัง
EFSA ได้ปรับลดเกณฑ์การได้รับสาร BPA โดยปรับลดเกณฑ์ระดับความปลอดภัย จาก ๕๐ ไมโครกรัม/วัน เหลือ ๔ ไมโครกรัม/วัน เนื่องจากได้ศึกษาการประเมินความเสี่ยงการสัมผัสสาร BPA ในทุกกลุ่มอายุและปรับลดเกณฑ์ให้เหมาะสมการประเมินความเสี่ยง โดยคณะกรรมาธิการยุโรป สมาชิกรัฐสภาและประเทศสมาชิก โดยมีข้อบังคับใช้ BPA ในพลาสติกที่เป็นวัตถุดิบในภาชนะบรรจุและวัสดุสัมผัสอาหาร
ปี ๒๕๕๓ แคนาดา ได้กำหนดห้ามมีสาร BPA เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ภาชนะของทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากมีความเสี่ยงในการได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อเด็ก ส่วนในปี2555 องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (Food and Drug Administration : FDA) ได้กำหนดให้สาร BPA เป็นอันตรายต่อเด็ก อาทิ ขวดนมพลาสติก ถ้วยพลาสติก และได้กำหนดเกณฑ์การได้รับสาร BPA อยู่ในระดับความปลอดภัย อยู่ที่ ๕ ไมโครกรัม/วัน
นอกเหนือจากประเด็น BPA. ในปี ๒๕๕๗ EFSA ได้ทำการตรวจสอบความปลอดภัย epoxy resins ที่ใช้ในตะเข็บของกระป๋องอาหาร และพบว่าไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค
ที่มา: Food Safety News สรุปโดย : มกอช.