TH EN
A A A

MHLW รายงานพิจารณา "สารตกค้าง-สารปรุงแต่ง" ครั้งที่ 177-178

27 October 2557   

                กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) ได้จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น ครั้งที่ 177  และ 178 ในวันที่ 28 สิงหาคม และวันที่ 10 ตุลาคม 2557 ตามลำดับ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

การประชุมพิจารณาครั้งที่ 177

                1. ปรับปรุงมาตรฐานสารกำจัดวัชพืช Propyzamide ในพืชผัก โดยมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นในผลผลิตของไทยหลายรายการ เช่น ข้าว ข้าวโพด กระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง กล้วย สับปะรด เป็นต้น และกำหนด  uniform limit (ค่าการตกค้างที่อนุญาตให้ตรวจพบสำหรับสินค้าเกษตรที่ไม่ได้ระบุค่า MRL) ที่ 0.01 ppm
                2. ปรับปรุงมาตรฐานสารปฏิชีวนะ Apramycin ในเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ซึ่งมีความเข้มงวดเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ส่งออกของไทย โดยห้ามการตกค้างในรายการที่ไม่ได้ระบุค่า ML

                3. ปรับปรุงมาตรฐานการทดสอบสารปฏิชีวนะ Chloramphenicol โดยเพิ่มเติมการทดสอบ glucuronate conjugate ในอาหาร และยังคงห้ามการตกค้างในอาหารทุกรายการ
                4. ปรับปรุงมาตรฐานสารกำจัดเชื้อรา Cyazofamid, Metalaxyl, Metalaxyl-M และ Metconazole โดยกำหนด uniform limit ที่ 0.01 ppm
                5. ปรับปรุงวิธีการทดสอบเชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella) ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
                6. ปรับปรุงวิธีการทดสอบสารพิษก่อโรคในอาหารในหอยสองฝา (bivalve molluscs) โดยเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ทดสอบแทนการใช้หนูทดลอง และแก้ไขมาตรฐานตกค้างของสารพิษดังกล่าวให้สอดคล้องกับ CODEX  จาก 0.05MU เป็น 0.6 mg. OA ต่อ 1 กิโลกรัม

การประชุมพิจารณาครั้งที่ 178
                1. ปรับปรุงมาตรฐานสารกำจัดเชื้อรา Epoxiconazole และ Propiconazole โดยกำหนด uniform limit ที่ 0.01 ppm
                2. ปรับปรุงมาตรฐานสารกำจัดแมลง Ethiprole, Spiromesifen และ Penthiopyrad และสารกำจัดเชื้อรา Tebufloquin และ Benthiavalicarb-isopropyl โดยกำหนด uniform limit ที่ 0.01 ppm
                3. ขึ้นทะเบียนสารปรุงแต่ง Canthaxanthin เป็นสีผสมอาหารตามมาตรฐาน CODEX ที่สามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์เนื้อปลาบด (kamaboko)
                4. แจ้งความก้าวหน้าในการประเมินสารปรุงแต่งอาหารที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสิ่งมีชีวิตและมีการใช้อย่างแพร่หลาย รวมทั้งความคืบหน้าในการประกาศใช้ตามกฎหมายญี่ปุ่น

                หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถส่งข้อคิดเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานดังกล่าว ครั้งที่ 177 เฉพาะข้อ 1-3 และครั้งที่ 178 เฉพาะข้อ 1 ผ่าน WTO/SPS Enquiry Point (กลุ่ม SPS กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร มกอช.) อีเมล์ : spsthailand@gmail.com โดยสามารถศึกษารายงานการประชุมได้ที่นี่
     - การประชุมพิจารณาครั้งที่ 177 คลิกที่นี่
     - การประชุมพิจารณาครั้งที่ 178 คลิกที่นี่

 


ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศฯ ประจำกรุงโตเกียว สรุปโดย : มกอช.

Is this article useful?