TH EN
A A A

หอมมะลิไทย...หนุนวิจัยต่อยอดยกระดับมาตรฐาน

25 June 2557   

                ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี เผยผลดำเนินการวิจัย "ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพและความหอมของข้าวหอมมะลิ" ว่า ปริมาณสารระเหย 2-Acetyl-1-Pyrroline (2AP) ซึ่งเป็นสารหลักที่ทำให้ข้าวหอมมะลิไทยมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1) ดินที่เพาะปลูก ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความเป็นกรดเล็กน้อย ธาตุอาหารในดินควรมีซัลเฟอร์ แมงกานีส แมกนีเซียม และแคลเซียม 2) ปริมาณน้ำในแปลงที่พอเหมาะ คือต้องระบายน้ำออกให้นาแห้งในระยะหลังข้าวออกดอก 7-14 วัน 3) การเก็บรักษาหลังเก็บเกี่ยว ต้องเก็บในที่แห้งและเย็น (อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส)
                ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยขั้นตอนต่อไปจะใช้เครื่อง Electronic Nose เพื่อวัดระดับกลิ่นหอมของข้าว และจะทำการวิจัยหาสารระเหยที่ให้ความหอมของพันธุ์ข้าวหอมต่างประเทศ เช่น จีน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ สรุปโดย : มกอช.

 

Is this article useful?