EU ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่ควบคุมการติดฉลากข้อมูลบนสินค้าอาหารเพื่อแจ้งให้ผู้บริโภคทราบ (Regulation (EU) No 1169/2011) โดยเพิ่มเติมกฎระเบียบว่าด้วยการกำหนดให้บนฉลากสินค้าเนื้อสัตว์ (เนื้อสุกร แกะ แพะ และสัตว์ปีก) ต้องระบุประเทศที่ผลิตหรือแหล่งที่มาของสินค้า (Country of origin or place of provenance) (Regulation (EU) No 1337/2013) ลงประกาศเมื่อวันที่13 ธันวาคม 2557 ดังนี้
1. EU จึงออกข้อกำหนดบังคับให้ติดฉลากระบุว่าสัตว์ถูกเลี้ยงและถูกฆ่าที่ใด ของเนื้อสัตว์ประเภท
1.1 เนื้อสุกร สด แช่เย็น แช่แข็ง CN 0203
1.2 เนื้อแกะ แพะ สด แช่เย็น แช่แข็ง CN 0204
1.3 เนื้อสัตว์ปีก สด แช่เย็น แช่แข็ง CN Ex 0207
2. วิธีการระบุข้อความบนฉลาก
2.1 ให้ระบุชื่อของประเทศสมาชิก EU หรือประเทศที่สาม ซึ่งเป็นแหล่งที่เลี้ยงสัตว์ดังกล่าว ให้ปรากฏ อยู่ในช่องคำว่า Reared in
. (เลี้ยงใน
.)
2.1.1 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเนื้อสุกร
- ถ้าสุกรมีอายุมากกว่า ๖ เดือน ณ เวลาที่ถูกฆ่า จะต้องระบุชื่อของประเทศที่เลี้ยงสุกรตัวดังกล่าวเป็นแห่งสุดท้ายมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๔ เดือน
- ถ้าสุกรมีอายุน้อยกว่า ๖ เดือน และมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า ๘๐ กิโลกรัม ณ เวลาที่ถูกฆ่า ให้ระบุชื่อของประเทศที่มีการเลี้ยงสุกรตัวดังกล่าวเมื่อมีน้ำหนักครบ ๓๐ กิโลกรัมขึ้นไป
- ถ้าสุกรมีอายุน้อยกว่า ๖ เดือน และมีน้ำหนักต่ำกว่า ๘๐ กิโลกรัม ณ เวลาที่ถูกฆ่า ให้ระบุชื่อประเทศที่เลี้ยงสุกรตัวดังกล่าวมาโดยตลอด
2.1.2 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเนื้อแกะและเนื้อแพะ
- ให้ระบุชื่อประเทศสุดท้ายที่เลี้ยงสัตว์ดังกล่าวมาในช่วงสุดท้ายมาแล้วไม่กว่า ๖ เดือนก่อนที่สัตว์จะถูกฆ่า
- ถ้าสัตว์อายุน้อยกว่า ๖ เดือน ณ เวลาที่ถูกฆ่า ต้องระบุชื่อของประเทศที่ได้มีการเลี้ยงสัตว์ตัวดังกล่าวมาโดยตลอด
2.1.3 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเนื้อสัตว์ปีก
- ให้ระบุชื่อประเทศสุดท้ายที่เลี้ยงสัตว์ปีกดังกล่าวมาไม่ต่ำกว่า ๑ เดือน ก่อนที่สัตว์จะถูกฆ่า
- ถ้าสัตว์อายุน้อยกว่า ๑ เดือน ณ เวลาที่ถูกฆ่า ให้ระบุชื่อประเทศที่ได้มีการเลี้ยงสัตว์ตัวดังกล่าวมาโดยตลอด
2.2 ให้ระบุชื่อของประเทศสมาชิก EU หรือประเทศที่สาม ที่สัตว์ถูกฆ่า ให้ปรากฏอยู่ในช่องคำว่า
Slaughtered in
. (ถูกฆ่าใน
.)
2.3 ให้ระบุรหัสของสินค้า (Batch code) สำหรับเนื้อสัตว์ที่จำหน่ายตรงให้ผู้บริโภค หรือจำหน่ายตรงให้ผู้ประกอบการทำอาหารที่รับซื้อเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก (mass caterer)
2.4 ในกรณีที่ระยะเวลาการเลี้ยงดูสัตว์ในประเทศสมาชิก EU หรือประเทศที่สามไม่ถึง ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ สามารถระบุโดยใช้คำว่า Reared in
. (ตามด้วยชื่อประเทศสมาชิกหรือ ประเทศที่สามที่เลี้ยงสัตว์นั้นๆ) ได้
2.5 สามารถใช้คำว่า Origin:
. (ตามด้วยชื่อประเทศสมาชิก EU หรือประเทศที่สามได้ ในกรณีที่สัตว์ได้เกิด ถูกเลี้ยง และถูกฆ่า ในประเทศ เดียวกัน) แทนการระบุคำว่า Reared in
. Slaughtered in
.. ได้
2.6 ในกรณีที่มีชิ้นส่วนเนื้อสัตว์จากสัตว์ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันถูกบรรจุอยู่ในห่อเดียวกัน ให้ ระบุ
- รายชื่อประเทศสมาชิก EU หรือประเทศที่สามตามข้อกำหนดที่กล่าวข้างต้น โดยให้แยก ระบุแหล่งประเทศที่มาของเนื้อสัตว์แต่ละชนิด
- ระบุรหัสของสินค้า (Batch code) ของสินค้าเนื้อสัตว์นั้นๆ
2.7 ข้อยกเว้นสำหรับเนื้อสัตว์ที่นำเข้าจากประเทศที่สาม
- หากสินค้านำเข้าไม่สามารถระบุข้อมูลได้ตามข้อกำหนดที่กล่าวข้างต้น ก็ขอให้ระบุ ข้อความว่า Reared in: non-EU and Slaughtered in :
.( ตามด้วยชื่อประเทศที่สัตว์ถูกฆ่าแทน) ได้
2.8 ข้อยกเว้นสำหรับเนื้อบดและเศษเนื้อ (Trimmings) ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
- สามารถระบุว่า Origin: EU ได้ ก็ต่อเมื่อเนื้อบดหรือเศษเนื้อได้มาจากสัตว์ที่เกิด ได้รับการเลี้ยง และถูกฆ่า เฉพาะในกลุ่มประเทศสมาชิก EU (ซึ่งอาจมีหลายประเทศด้วยกัน) เท่านั้น
- สามารถระบุว่า Reared and Slaughtered in: EU ได้ ก็ต่อเมื่อ เนื้อบดหรือเศษเนื้อ ได้มาจากสัตว์ที่ถูกเลี้ยงและถูกฆ่าในกลุ่มประเทศสมาชิก EU (ซึ่งอาจมีหลายประเทศด้วยกัน) เท่านั้น
- สามารถระบุว่า Reared and Slaughtered in: non-EU ได้ ก็ต่อเมื่อเนื้อบดหรือเศษเนื้อได้มาจากสัตว์ที่นำเข้ามาจากประเทศที่สาม
- สามารถระบุว่า Reared in: non-EU และ Slaughtered in: EU ก็ต่อเมื่อเนื้อบด หรือเศษเนื้อได้มาจากสัตว์มีชีวิตที่นำเข้ามาจากประเทศที่สามเพื่อนำมาฆ่าในประเทศสมาชิก EU
- สามารถระบุว่า Reared and Slaughtered in: EU and non-EU ได้ในกรณีที่เนื้อ บดหรือเศษเนื้อได้มาจากสัตว์ที่ถูกเลี้ยงและถูกฆ่าในประเทศสมาชิก EU หรือได้จากสัตว์ที่นำเข้ามาจากประเทศที่สาม หรือจากสัตว์ที่นำเข้ามาจากประเทศที่สามและถูกฆ่าในประเทศสมาชิก EU
2.9 ผู้ประกอบการสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการระบุแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ได้ นอกเหนือจากนี้ แต่ข้อมูลดังกล่าวจะต้องไม่ขัดแย้งกับข้อมูลบังคับที่ระบุไว้ข้างต้น
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์ดัง ต่อไปนี้ http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2013:335:0019:0022:EN:PDF
ทั้งนี้กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2557 แต่ยังอนุโลมให้เนื้อสัตว์ที่วางจำหน่ายในตลาด EU ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2558 ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎระเบียบฉบับนี้ ให้สามารถวางจำหน่ายได้ต่อไปจนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า และเริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558
ที่มา : Thai Europe สรุปโดย : มกอช.