TH EN
A A A

ACC คิดค่าใช้จ่ายรับรองมาตรฐานกุ้งทุกขั้นตอน

19 July 2549   

               จากกรณีที่วอลมาร์ท ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาซึ่มีสาขา 5,000 แห่งทั่วโลกได้กำหนดให้สินค้ากุ้งที่วางจำหน่ายในห้างต้องผ่านการรับรองมาตรฐานของภาคเอกชนในสหรัฐฯ หรือ Aquaculture Certification Council Inc. (ACC) รับรองว่ากระบวนการเลี้ยงและแปรรูปต้องเป้นไปตามมาตรฐาน Best Aquaculture Practice (BAP) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ให้ความสำคัญสังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านอาหาร และอื่นๆ

               แหล่งข่าวสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยเปิดเผยว่า จากข้อกำหนดดังกล่าวที่จะมีผลบังคับใช้สำหรับโรง่นแปรรูป(ห้องเย็น) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 และสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัวอย่างขนานใหญ่ อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นทั้งค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงกระบวนการผลิต และค่าใช้จ่ายในการสมัครเข้ารับการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน โดยค่าใช้จ่ายในการสมัคร 500 ดอลล่าร์สหรัฐ และค่าบริการของเจ้าหน้าที่จาก ACC อีก 400-800 ดอลล่าร์สหรัฐต่อวัน นอกจากนี้โรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองแล้วต้องเสียค่าแกรเข้าเป็นโรงงานมาตรฐาน BAP ขั้นต่ำให้ ACC จำนวน 2,000 ดอลล่าร์สหรัฐ และหากโรงงานส่งออกกุ้งเกิน 1,000 ตันต่อปีต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มส่วนที่เกินอีก 2 ดอลล่าร์สหรัฐต่อตัน แต่สูงสุดไม่เกิน 8,000 ดอลล่าร์สหรัฐ อีกทั้งยังมีค่าทบทวนการรับรองมาตรฐานอีก 1,000 ดอลล่าร์สหรัฐ รวมทั้งผู้ซื้อกุ้งจากโรงงานยังต้องเสียค่า licencing fee ให้แก่ ACC จำนวน 0.025 ดอลล่าร์สหรัฐต่อกิโลกรัม สำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยง ต้องเสียค่าแรกเข้าเป็นฟาร์มมาตรฐาน BAP ขั้นต่ำให้ ACC จำนวน 500 ดอลล่าร์สหรัฐ และหากมีผลผลิตเกิน 500 ตันต่อปีต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มส่วนที่เกินอีก 1 ดอลล่าร์สหรัฐต่อตัน แต่สูงสุดไม่เกิน 6,000 ดอลล่าร์สหรัฐ อีกทั้งยังมีค่าทบทวนการรับรองมาตรฐานอีก 500 ดอลล่าร์สหรัฐในทุก 2 ปี เบื้องต้นห้องเย็นที่จะเข้าสู่มาตรฐาน ACC มีภาระค่าใช้จ่าย 160,000 บาทต่อโรง ฟาร์มเพาะเลี้ยง 60,000 บาทต่อฟาร์ม

               อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามบริษัทผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ป้อนห้างวอลมาร์ทซึ่งมี 5-6 กลุ่ม ปรากฎว่าส่วนใหญ่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ACC แล้ว และพร้อมที่จะส่งออกตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น รูบิคอนกรุ๊ป ( บริษัทอันดามันซีฟู้ด บริษัทจันทบุรีซีฟู้ด บริษัทไทยแลนด์ฟิชเชอรีโคลสตอเลจ) บริษัทยูเนียนโฟรเซ่นโปรดักส์ บริษัทไทยรอยัลโฟรเซ่นฟู้ด เป็นต้น โดยระบุว่าถึงแม้จะทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มก็จำเป็นต้องทำเพื่อรักษาตลาดไว้เนื่องจากวอลมาร์ทเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของสหรัฐฯ

สรุปความจากฐานเศรษฐกิจ

Is this article useful?