TH EN
A A A

EU ยืนยันการใช้ E-500 และE-501 เฉพาะแต่ในสินค้าประมงที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป

13 June 2556   

               
ตามที่ สหภาพยุโรป โดย  DG-SANCO ได้แจ้งว่า ไม่อนุญาตให้ใช้สาร E-500 (Sodium carbonate) และสาร E-501 (Potassium carbonates) ในสินค้าประมง (fishery product) ด้วยเหตุที่มีผู้ประกอบการนำสารดังกล่าวมาผสมกับสาร E-330 (Citric acid) และสาร E-331 (Sodium citrate) เพื่อฉีดหรือแช่ให้สินค้าประมงอุ้มน้ำและป้องกันมิให้สินค้าสึกหรอ นั้น  ต่อมาภาคเอกชนไทย ขอทราบความชัดเจนในเรื่องของประเภท สินค้าที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าว ว่าเป็นสินค้าประเภทใดบ้าง และสินค้าประเภทใดยังคงสามารถใช้สาร E-500 และสาร E-501 ต่อไปได้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและมีปัญหาสินค้าประมงถูกระงับ ณ ด่านนำเข้า ในสหภาพยุโรปในอนาคต
โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้  

                1. สินค้าที่ไม่อนุญาตให้ใช้สาร E-500 และสาร E-501:  ได้แก่ ปลาและสินค้าประมง ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป (ปลา รวมถึงสัตว์น้ำจำพวกหอยและปลาหมึก (mollusks) และสัตว์น้ำที่มี เปลือกแข็ง (crustaceans) กุ้ง ปู) สินค้าที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป หมายถึง เป็นสินค้าที่อาจได้รับ การทำความสะอาด การนำลำไส้ออก การตัดหัวออก
การแล่เนื้อออกเป็นชิ้น การแกะเปลือก หรือการหั่นเป็น ชิ้นๆ โดยสินค้าอาจอยู่ในรูปแช่เย็น แช่แข็ง และแช่แข็งเย็นจัดก็ได้ 

                2. สินค้าที่อนุญาตให้ใช้สาร E-500  และสาร E-501: ได้แก่ ปลาและสินค้าประมงที่ผ่าน กระบวนการแปรรูปแล้ว (ปลา รวมถึงสัตว์น้ำจำพวกหอยและปลาหมึก (mollusks) และสัตว์น้ำ ที่มีเปลือกแข็ง (crustaceans) กุ้ง ปู)   การผ่านกระบวนการแปรรูป รวมถึงการรมควัน การหมักบ่ม การตากแห้ง การผ่านความร้อน และ/หรือปลา  สินค้าประมง สัตว์น้ำจำพวกหอยและปลาหมึก และสัตว์น้ำ ที่มีเปลือกแข็งประเภทหมักเกลือ  โดยสินค้าดังกล่าวอาจบรรจุในกระป๋อง มีของเหลวหรือไม่มีของเหลว เจือปน (น้ำ น้ำเกลือ น้ำมัน) หรือบรรจุอยู่ในภาชนะสูญญากาศ หรือภาชนะที่มีการดัดแปลงบรรยากาศได้ โดยอาจรวมถึงซูริมิ และสินค้าประเภทคล้ายคลึงกันที่ผลิตได้จากโปรตีนปลาและถูกแปรรูปให้มีรูปลักษณ์ ที่แตกต่างกัน fish fillings เนื้อปลาบดละเอียด (fish paste) เนื้อสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งบดละเอียด (crustaceans paste) สินค้าไข่ปลาปรุงสุกหรือรมควัน ซึ่งสินค้าเหล่านี้สามารถอยู่ในรูปแช่แข็งได้ภายหลัง การแปรรูปแล้ว


 

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ
ประจำสหภาพยุโรป (13 มิ.ย.56)

 

 

 

 

 

Is this article useful?