TH EN
A A A

EFSA เผยรายงานการประเมินความเสี่ยงของสาร Fipronil ที่มีต่อผึ้ง

7 June 2556   

               
นอกจากสหภาพยุโรป (EU) จะให้ความสำคัญต่อการประเมินความเสี่ยงของสารตกค้างในสินค้าเกษตรและอาหารแล้ว EU ยังให้ความสำคัญต่อผึ้งซึ่งผลิตน้ำผึ้งด้วย โดยก่อนหน้านี้หน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) เคยรายงานการประเมินความเสี่ยงของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่ม neonicotinoids ได้แก่ Clothianidin, Imidacloprid และ Thiamethoxam เมื่อเดือนมกราคม 2556 ที่ผ่านมา และล่าสุดหน่วยงานของ EU ได้ขอให้ EFSA ประเมินความเสี่ยงของสารกำจัดแมลง Fipronil ที่ใช้ในการแช่เมล็ดข้าวโพด (maize) ก่อนปลูก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเฉียบพลันและระยะยาวในผึ้งที่ดูดน้ำหวานได้ โดย EFSA ได้ศึกษาประเมินระดับความเสี่ยงดังนี้

                  1. เศษเมล็ดที่ผ่านการป่น: พบอันตรายเฉียบพลันรุนแรงที่เกิดจากเศษเมล็ดข้าวโพดป่นต่อผึ้ง ส่วนในพืชไร่อื่นๆ รวมทั้งทานตะวัน ทาง EFSA ยังไม่สามารถประเมินความเสี่ยงให้เสร็จสิ้น จึงยังไม่สามารถระบุความเสี่ยงจากเศษเมล็ดพืชเหล่านี้ที่ผ่านการป่นได้
                  2. เกสรและน้ำหวาน: ไม่พบระดับความเสี่ยงอย่างชัดเจนต่อผึ้งที่ได้รับเกสรและน้ำหวานของทานตะวันและข้าวโพดที่ผ่านการใช้สาร Fipronil กับเมล็ด แต่อาจมีความเสี่ยงเล็กน้อยหากอนุญาตให้ใช้ Fipronil ในผัก เนื่องจากพืชกลุ่มนี้ไม่ได้เก็บเกสรและน้ำหวานเพื่อใช้เป็นอาหาร
                  3. EFSA ยังพบช่องทางอื่นๆ ที่อาจทำให้ผึ้งได้รับสาร Fipronil ซึ่งจะต้องศึกษาเพิ่มเติม

                โดยทาง EU จะนำข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาประเมินความเสี่ยงไปพิจารณาเพื่อดำเนินการออกมาตรการต่อไป

                ทั้งนี้สาร Fipronil จัดเป็นสารเคมีอันตรายที่ระบุไว้ใน Regulation (EC) No 1272/2008 และเป็นวัตถุอันตรายตามบัญชี ก ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งต้องมีใบอนุญาตในการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือการมีไว้ครอบครอง โดยสหภาพยุโรปไม่ได้กำหนดค่า MRL ในสารดังกล่าวโดยเฉพาะ แต่ได้ใช้ค่า Uniform limit ที่ 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในสารดังกล่าว

 

ที่มา : EFSA (7 มิ.ย.56)

 

 

 

 

Is this article useful?