TH EN
A A A

สหรัฐฯ พบเนื้อไก่ที่เลี้ยงด้วยสารปฏิชีวนะมีปริมาณสารหนูอนินทรีย์สูง - ส่งผลผู้บริโภคเสี่ยงมะเร็ง

16 May 2556   
               
กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ เผยผลการวิจัยสารหนูอนินทรีย์ที่ตกค้างในเนื้อไก่ อาจทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากกว่าปกติ ทั้งนี้พบว่าสารหนูอินทรีย์ในยาปฏิชีวนะ สามารถเปลี่ยนเป็นรูปสารหนูอนินทรีย์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในเนื้อสัตว์ได้ โดยสารปฏิชีวนะ 3-Nitro หรือในชื่อการค้า roxarsone ของบริษัท Pfizer ที่ใช้กำจัดพยาธิในช่องท้อง และเร่งการเจริญเติบโตของปศุสัตว์ที่มีสารหนูเป็นส่วนผสม ได้ยกเลิกการจำหน่ายตั้งแต่ปี 2554 หลังจากงานวิจัยดังกล่าวสิ้นสุดเพียงไม่นาน แต่กระนั้น สารปฏิชีวนะ nitarsone ที่มีสารหนูเป็นส่วนผสมเช่นกัน ยังคงวางจำหน่ายในท้องตลาดอยู่

 
                นอกจากนี้ จากการเก็บตัวอย่างของกลุ่มนักวิจัย ไก่ในกลุ่มที่เลี้ยงโดยใช้สารปฏิชีวนะ มีการใช้สาร roxarsone ถึง 20 จาก 40 ตัวอย่าง และยังพบ 1 ตัวอย่างจาก 13 ตัวอย่างในไก่ที่ระบุว่าปลอดสารปฏิชีวนะ แต่ไม่พบใน 25 ตัวอย่างไก่ที่เลี้ยงแบบอินทรีย์ โดยเนื้อไก่ที่เลี้ยงโดยใช้สารปฏิชีวนะดังกล่าว มีปริมาณสารหนูอนินทรีย์ตกค้างถึง 2.3 ppb ในขณะที่เนื้อไก่ที่ไม่ได้ใช้สารนี้ มีปริมาณสารหนูอนินทรีย์ตกค้างเฉลี่ย 0.8 ppb เท่านั้น ซึ่งไม่เกินปริมาณสารหนูอนินทรีย์ตกค้างในเนื้อไก่ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) กำหนดไว้เมื่อปี 2554 ที่ระดับ 1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม (หนึ่งในพันล้านส่วน; ppb) และหน่วยงานดังกล่าวได้ออกแถลงเพิ่มเติมภายหลังว่า ควรคำนึงถึงการปนเปื้อนของสารหนูอนินทรีย์ไม่ว่าจะพบในปริมาณเท่าใดก็ตาม
 
 
 
ที่มา : FoodSafetyNews (16 พ.ค.56)
 
 
 
 
 

Is this article useful?