TH EN
A A A

ฝรั่งเศสไม่ยอมรับการเลี้ยงปลาด้วยโปรตีนแปรรูปจากสัตว์ตามระเบียบใหม่ EU

25 March 2556   

               
จากการที่สหภาพยุโรปได้อนุญาตให้นำโปรตีนที่แปรรูปจากสัตว์ (Processed Animal Proteins - PAPs) รวมทั้งสัตว์ปีกและสุกร กลับมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์น้ำได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 หลังจากเคยห้ามใช้ PAPs ในอาหารเลี้ยงโคตั้งแต่ปี 2540 และอาหารสัตว์ชนิดอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2544 ด้วยเหตุผลที่วัตถุดิบเหล่านี้อาจเป็นแหล่งพาหะในการนำเชื้อโรควัวบ้า (BSE) ได้นั้น

                ล่าสุด สำนักพิมพ์ Green Phophet ได้แสดงทรรศนะว่า PAPs ดังกล่าว ไม่ได้มีการแสดงที่มาอย่างชัดเจนว่าเป็นผลผลิตจากสัตว์ที่มีสุขภาพดีหรือไม่  นอกจากนี้ ผลการทดสอบดีเอ็นเอในผลิตภัณฑ์ประมงในลอสแองเจลิส สหรัฐฯ เมื่อปี 2555 ยังพบว่า การติดฉลากผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความผิดพลาด โดยไม่สามารถระบุชนิดปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากมีการยกระดับการทดสอบไปสู่วัตถุดิบอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาเพื่อยืนยันการผลิตที่ถูกต้องตามหลักฮาลาลแล้ว จะสามารถระบุที่มาได้อย่างถูกต้องหรือไม่

                ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวของสหภาพยุโรปที่มีการอนุญาตในช่วงเวลาใกล้เคียงกับเหตุการณ์ปนเปื้อนเนื้อม้าในอาหารแช่แข็งซึ่งวางจำหน่ายตามร้านค้าของประเทศสมาชิกสหภาพฯ นั้น ล่าสุด ประเทศฝรั่งเศสได้แสดงท่าทีคัดค้านการใช้ PAPs เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์น้ำ แม้ว่าคณะกรรมาธิการยุโรปจะให้เหตุผลต่อการกลับมาอนุญาตว่า การใช้ PAPs จะทำให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ทั้งยังมีผลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันความปลอดภัยของ PAPs ว่า การถ่ายทอดเชื้อ BSE ระหว่างสัตว์ที่ไม่เคี้ยวเอื้องนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย

 

ที่มา : HalalFocus (25 มี.ค.56)

 

 

 

 

Is this article useful?