TH EN
A A A

แพทย์สวีดิชพบคาเฟอีนส่งผลต่อน้ำหนักทารกแรกคลอด

21 February 2556   
               
ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMC Medicine โดยกลุ่มแพทย์ผู้วิจัยชาวสวีเดน ศึกษาสตรีมีครรภ์กลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ 59,123 คน พบว่าการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณมาก จากทั้งกาแฟ ชา น้ำอัดลม และอาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น เค้กช็อกโกแลต ของหวาน และช็อกโกแลตแท่ง มีผลทำให้น้ำหนักทารกแรกคลอดลดลง 21-28 กรัม ต่อการบริโภคคาเฟอีน 100 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ยังพบว่าคาเฟอีนในปริมาณดังกล่าว ยังส่งผลให้ระยะเวลาตั้งครรภ์ เพิ่มขึ้น 5 ชั่วโมง หรือมากถึง 8 ชั่วโมง ต่อ 100 มิลลิกรัม กรณีที่ได้รับจากการบริโภคกาแฟ
 
                ปริมาณการบริโภคคาเฟอีนที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นการรายงานจากสตรีกลุ่มทดลองด้วยตนเองในช่วงสัปดาห์ที่ 17 22 และ 30 ของการตั้งครรภ์ และนำไปศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับรายงานผลการตั้งครรภ์ รวมถึงรายงานผลการคลอดก่อนกำหนด (Pre-term Delivery) น้ำหนักตัวแรกคลอด และข้อมูลขนาดทารกในแต่ละช่วงเวลาการตั้งครรภ์ ซึ่งทารกที่มีขนาดเล็กสำหรับช่วงอายุครรภ์ (SGA) มักพบว่ามีปัญหาสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
 
                ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้สตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภคคาเฟอีนเกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่บางประเทศแนะนำให้บริโภคไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งกลุ่มผู้วิจัยกล่าวว่า แม้แต่การบริโภคในปริมาณที่แนะนำนั้น ก็สามารถเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะเป็น SGA ได้ถึงหนึ่งในสาม และควรที่จะมีการกำหนดค่าสูงสุดในการบริโภคคาเฟอีนใหม่
 
 
 
 
ที่มา : FoodNavigator (21 ก.พ.56)
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Is this article useful?