นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย (UEA) แห่งสหราชอาณาจักร ได้แสดงทรรศนะผ่านบทความ "Equity and state representations in climate negotiations" เกี่ยวกับสิทธิการออกเสียงในที่ประชุม UNFCCC หรือ COPs (Conference of the Parties) ด้านกรอบการทำงานเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของสหประชาชาติ (UN) ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ระบบการลงคะแนนเสียงข้างมากของ UN ทำให้ประเทศด้อยพัฒนาที่มีข้อจำกัดในการตั้งคณะผู้แทนเสียเปรียบทั้งการมีส่วนร่วมและอำนาจต่อรองในการประชุมแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้การลงความเห็นเสียงส่วนใหญ่เพื่อให้บรรลุข้อตกลง กลายเป็นประเทศใหญ่ที่มีคณะผู้แทนจำนวนมากกว่าได้เปรียบ และนโยบายหรือข้อตกลงที่ผ่านการออกเสียงมักล้มเหลวในการแก้ไขข้อขัดแย้งที่ส่งผลเสียต่อประเทศด้อยพัฒนา การคัดสรรคณะผู้แทนเพื่อเข้าร่วมประชุมควรจะมีการจำกัดจำนวนคณะผู้แทนแต่ละประเทศและคณะผู้แทนทั้งหมด ซึ่งผ่านจัดสรรให้ทั้งภาครัฐและภาคสังคมเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน
2. กรอบการจัดการนโยบายด้านสภาวะอากาศในประเทศพัฒนาแล้ว ยังมีความแตกต่างตามโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ในสหราชอาณาจักร มีการเปลี่ยนหน่วยงานรับผิดชอบนโยบายจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ และการเกษตร เป็นกระทรวงพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ หรือในสหรัฐฯ ที่ยกระดับการจัดการนโยบายไปสู่ระดับของสภาคองเกรสที่มีอำนาจจัดการสูงขึ้น เป็นต้น
3. ประเด็นความร่วมมือในการสนับสนุนจากหน่วยงาน Non-State Actors (NSAs) เช่น CARE หรือ WWF ต่อการวางแผนนโยบายและยกระดับการจัดการ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปิดโอกาสของภาครัฐในการให้เข้ามามีส่วนร่วมของ NSAs ทำให้ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับความร่วมมือของ NSAs ในการวางนโยบายของแต่ละประเทศ
อนึ่ง การประชุม COPs ล่าสุด จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://sciencepolicy.colorado.edu/admin/publication_files/2012.28.pdf
ที่มา : ScienceDaily (4 ธ.ค.55)