TH EN
A A A

นักวิจัยสหรัฐฯ คิดค้นตัวตรวจจับเอทิลีนใช้งานร่วมกับ RFID หวังลดขยะวัตถุดิบอาหาร

6 September 2555   

               
นักวิจัยสหรัฐฯ คิดค้นตัวตรวจจับก๊าซเอทิลีนที่สามารถส่งข้อมูลไปยังชิพ RFID ที่สามารถรายงานปริมาณก๊าซเอทิลีน ซึ่งก๊าซดังกล่าวผลิตจากผักและผลไม้ที่กำลังสุกในปริมาณ 0.1-1 ppm และสามารถตรวจพบแม้มีเพียง 0.5 ppm ให้แก่อุปกรณ์อ่านค่าแบบมือถือ ทั้งยังมีต้นทุนเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ชุดของตัวตรวจจับที่ผลิตจากท่อคาร์บอนนาโนที่มีส่วนผสมของทองแดงและชิพ RFID และมีการเติมเม็ดโพลีสไตรีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจับก๊าซเอทิลีนอีกด้วย
 
                 หลักการตรวจวัดปริมาณก๊าซเอทิลีนของอุปกรณ์ดังกล่าวทำได้โดย เมื่อมีก๊าซเอทิลีน ก๊าซดังกล่าวจะไปจับกับทองแดงที่ผสมในท่อคาร์บอนนาโน และทำให้กระแสอิเล็กตรอนภายในเคลื่อนตัวได้ช้าลง ทำให้สามารถคำนวณปริมาณก๊าซเอทิลีนที่เกิดจากผลิตผลได้ ซึ่งจะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมและผู้ผลิตขั้นทุติยภูมิสามารถทราบได้ว่าวัตถุดิบของตนสุกเกินไป หรือยังไม่สุกเพียงพอสำหรับขั้นตอนการผลิต และต้องมีกระบวนการรักษาสภาพ เช่น การแช่เย็น หรือการบ่มผลผลิตเป็นพิเศษหรือไม่ ทั้งนี้อุปกรณ์ดังกล่าวจะผลิตตัวต้นแบบเพื่อให้ผู้ประกอบการทดลองใช้ในช่วงปี 2556 และคาดว่าจะสามารถเดินสายการผลิตจริงได้ภายใน 6 เดือน เพื่อประเมินช่วงอุณหภูมิ และความชื้นที่ทำงานได้ รวมทั้งทดสอบความสามารถในการตรวจจับของอุปกรณ์

 
 
ที่มา : FoodProductionDaily (6 ก.ย.55)
 
 
 
 
 
 

Is this article useful?