TH EN
A A A

อียูแก้ไขบัญชีรายชื่อสินค้านำเข้าที่ต้องได้รับการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้า

30 May 2550   
        
    คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศกฏระเบียบว่าด้วย การกำหนดบัญชีรายชื่อสินค้านำเข้าจากประเทศที่สามที่ต้องได้รับการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้าของประเทศสมาชิก มีสาระสำคัญดังนี้

                 1. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการปรับปรุงกฎระเบียบเดิม โดยเป็นการแก้ไขภาคผนวกที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใส่พิกัดภาษีสินค้ากำกับ พร้อมรายละเอียดคำอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละประเภทสินค้าที่ต้องได้รับการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้าของประเทศสมาชิก ตลอดจนเงื่อนไขสำหรับสินค้าที่มีหลายส่วนประกอบ(Composite products) ที่ต้องได้รับการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้า และการกำหนดรายชื่อสินค้าที่มีหลายส่วนประกอบหรืออาหารบางรายการที่ได้ยกเว้นการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกัน โดยหมวดสินค้าที่ต้องได้รับการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้ามีดังนี้
1.1 สัตว์มีชีวิต
1.2 เนื้อสัตว์และส่วนอื่นของสัตว์ที่บริโภคได้
1.3 ปลาและสัตว์น้ำประเภท กุ้ง ปู หอย ปลาหมึก และสัตว์น้ำที่ไม่มีสันหลัง
1.4 ผลิตภัณฑ์นม ไข่นก น้ำผึ้งธรรมชาติ สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์ ที่มิได้กล่าวถึงหรือรวมอยู่ในหมวดอื่นใด
1.5 ผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์ ที่มิได้กล่าวถึงหรือรวมอยู่ในหมวดอื่นใด
1.6 เมล็ดพืชน้ำมัน เมล็ดผลไม้เบ็ดเตร็ด เมล็ดและผลไม้ พืชอุตสาหกรรมและพืชสมุนไพรฟางและหญ้าแห้งที่ใช้เป็นอาหารสัตว์
1.7 ไขมันสัตว์หรือพืช น้ำมันและสินค้าหมวดน้ำมัน ไขมันเพื่อการบริโภค แว๊กซ์จากสัตว์และพืช
1.8 เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง ปลา กุ้ง ปู หอย ปลาหมึก หรือสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ปรุงแต่ง
1.9 น้ำตาลและลูกกวาดทำจากน้ำตาล
1.10 ธัญพืชปรุงแต่ง แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง หรือ นม ผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกเพสทรี
1.11 ผักปรุงแต่ง ผลไม้ ถั่ว หรือส่วนอื่นๆ ที่ได้จากพืช
1.12 ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้
1.13 สิ่งตกค้างที่เหลือจากภาคอุตสาหกรรมอาหาร หญ้าแห้งเพื่อการเลี้ยงสัตว์
1.14 สินค้าเคมีภัณฑ์หรือที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม
1.15 ผลิตภัณฑ์เภสัช
1.16 ปุ๋ย
1.17 Albuminoidal substances
1.18 หนังดิบ
1.19 สินค้าเครื่องหนัง
1.20 สินค้าขนสัตว์
1.21 สินค้าวูล
1.22 สินค้าของเล่น
1.23 สินค้างานศิลปะ

                 2. ระบุเงื่อนไขของสินค้าหลายส่วนประกอบ ที่ต้องได้รับการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้า ดังนี้
2.1 สินค้าหลายส่วนประกอบที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์แปรรูป
2.2 สินค้าหลายส่วนประกอบที่มีส่วนผสมของสินค้าแปรรูปที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ที่มิใช่สินค้าแปรรูปที่ทำจากเนื้อสัตว์มากกว่า 1 ชนิด ในสัดส่วนเท่ากับหรือมากกว่า 50%
2.3 สินค้าหลายส่วนประกอบที่ไม่มีส่วนผสมของสินค้าแปรรูปที่ทำจากสัตว์และมีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์นมแปรรูปน้อยกว่า 50% และสินค้าผสมขั้นสุดท้ายไม่เข้าข่ายอยู่ในมาตราที่ 6
                 3. ยกเว้นการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้าให้แก่สินค้าที่มีหลายส่วนประกอบและสินค้าอาหารบางประเภทที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์
3.1 สินค้าหลายส่วนประกอบที่มีส่วนผสมของสินค้าแปรรูปน้อยกว่า 50% โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- สามารถเก็บได้ในอุณหภูมิปกติ หรือได้ผ่านการต้มสุก หรือผ่านความร้อนจนสุกแล้ว
- ระบุชัดเจนว่าเป็นสินค้าเพื่อการบริโภคของมนุษย์
- เป็นสินค้าที่ได้รับการบรรจุหีบห่ออย่างปลอดภัย หรือบรรจุหีบห่อปิดในตู้เก็บสินค้าที่สะอาด
- มีใบรับรองทางการค้า และติดฉลากในภาษาทางการของประเทศสมาชิกกำกับ ซึ่งเอกสารทั้ง 2 รายการ จะเป็นสิ่งสามารถให้ข้อมูลในด้านลักษณะปริมาณและจำนวนของหีบห่อ ประเทศผู้ผลิต ชื่อผู้ผลิต และส่วนประกอบ ของสินค้าผสมนั้นๆ
3.2 สินค้าสินค้าหลายส่วนประกอบหรือสินค้าอาหารที่ได้รับยกเว้นการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้า ดังนี้
- คุ้กกี้
- ขนมปัง
- ขนมเค้ก
- ชอคโกแลต
- ขนมหวาน รวมถึงลูกอม
- แคปซูลเจลลาตินที่ยังไม่มีการเติมให้เต็ม
- อาหารเสริมบรรจุหีบห่อพร้อมรับประทานสำหรับผู้บริโภค มีส่วนผสมของสินค้าที่ทำมาจากสัตว์ในปริมาณน้อย และมีส่วนผสมของ glucosamine, chondroitin หรือ chitosan
- ส่วนผสมสกัดที่ได้จากเนื้อสัตว์ และหัวเชื้อที่ได้จากเนื้อสัตว์
- มะกอกดองสอดไส้ปลา
- เส้นพาสต้าและก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีการผสมหรือเจือปนด้วยสินค้าที่ทำมาจากสัตว์
- ซุปก้อน หรือสิ่งชูรส บรรจุหีบห่อพร้อมบริโภค มีส่วนผสมของส่วนสกัดที่ได้จากเนื้อสัตว์ หัวเชื้อที่ได้จากเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ หรือไขมันปลา แป้ง หรือแป้งสกัด
3.3 อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์นมที่อยู่ในข่ายสินค้าหลายส่วนประกอบที่ผลิตจากประเทศที่กำหนดอยู่ในภาคผนวกที่ 1 ต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2550 เป็นต้นไป โดยทั้งนี้ถือเป็นการยกเลิกกฎระเบียบ Decision 2002/349/EC ด้วยแล้ว

อ้างอิงจาก : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ
ประจำสหภาพยุโรป

Is this article useful?