TH EN
A A A

FAO ประเมินสถานการณ์ตลาดปลาน้ำจืดของโลกปี 2012

12 June 2555   
               
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประเมินสถานการณ์ตลาดปลาน้ำจืดทั่วโลกในปีนี้ ว่าจะมีการขยายตัวภายใต้กรอบด้านความปลอดภัยและการเพิ่มคุณภาพในการผลิต

                ตระกูลปลานิล (Tilapia) มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยตลาดใหญ่อยู่ในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้
                 - จีนเน้นการส่งออกไปยังแอฟริกามากกว่าตลาดสหรัฐ ถึงแม้ปริมาณการส่งออกเนื้อปลาแล่จะลดลงถึง 15% แต่ก็มีการส่งออกปลานิลแช่แข็งทั้งตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งราคาต่อกิโลกรัมก็เพิ่มขึ้น 13% มาอยู่ที่ 1.88 ดอลลาร์สหรัฐ (56 บาท)

                   - สหรัฐอเมริกา พบว่าในปี 2554 มีปริมาณนำเข้าลดลง 10% เหลือเพียง 192,900 ตัน และมูลค่าการนำเข้าลดลง 0.5% อยู่ที่ 838 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 25,000 ล้านบาท) เนื่องจากถูกเนื้อปลาสวายที่ราคาต่ำกว่าเข้ามาแข่งขันในตลาด

                  - ตลาดสหภาพยุโรป ปี 2554 มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1% อยู่ที่ 20,700 ตัน โดยเริ่มนำเข้าจากประเทศในกลุ่มเอเชียได้แก่ เวียดนาม ไต้หวัน และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 160%, 13% และ 9% ตามลำดับ ส่วนจีนซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่พบว่ามีปริมาณส่งออกสู่สหภาพยุโรปลดลง

                  - ประเทศอื่นๆ ได้แก่ บราซิล กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และเม็กซิโก กำลังเพิ่มปริมาณการผลิตสำหรับทั้งบริโภคภายในประเทศและตลาดส่งออก
ตระกูลปลาสวาย (Catfish) คาดว่าปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นในปีนี้ หลังจากพบปัญหาทั้งด้านโรค การทำตลาด และปัจจัยส่วนทุนในการผลิตในปีที่แล้ว

                  - สหภาพยุโรปจะมีการนำเข้าประมาณ 209,000 ตัน ลดลง 11% จากปี 2554

                  - ผู้ผลิตรายใหญ่ได้แก่ เวียดนาม ซึ่งกำลังเพิ่มมาตรฐานในการผลิตไปสู่ SQF 1000, Global GAP และมาตรฐานของ ASC ทั้งยังมีประเทศต้องการนำเข้าจากเวียดนามเพิ่มขึ้นทั้ง สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ประมาณ 39%, 86% และ 37% ตามลำดับ ทั้งนี้เวียดนามยังมีการวางแผนเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศเม็กซิโก บราซิล และซาอุดิอาระเบียอีกด้วย

                  - ตลาดสหรัฐมีนำเข้าเพิ่มจากปี 2554 ถึง 59% และมูลค่าการนำเข้ารวม 350 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 11,000 ล้าน บาท) สูงขึ้นถึง 78% เนื่องจากเนื้อปลากลุ่มปลาสวายเป็นที่นิยมของผู้บริโภคและอุตสาหกรรมร้านอาหาร

             ปลากะพงแม่น้ำไนล์ (Nile Perch) มีปริมาณการนำเข้าสู่สหภาพยุโรปลดลงอย่างมากในปี 2554 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตได้แก่ เคนยา แทนซาเนีย และอูกันดา จับปลาได้ปริมาณลดลง ซึ่งปัจจุบันเหล่าประเทศผู้ผลิตกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณากฎหมายประมงเชิงอนุรักษ์

             ปลากะพงและปลาตะเพียนทะเล (Sea Bass and Sea Bream) มีปริมาณการผลิตทั่วโลกลดลง 4% ในปี 2554 และมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นอย่างชัดเจนในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2555 โดยเฉพาะปลากะพง จากการคาดการณ์นั้น ราคาสินค้าจะเริ่มลดลงในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เพราะผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ ปลาทั้งสองชนิดกำลังเดินหน้าทำตลาดในประเทศผู้ซื้อรายใหม่ที่มีศักยภาพได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย อนึ่ง ความต้องการภายในประเทศของตุรกีที่เป็นผู้ผลิตอันดับสองของโลกกำลังเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการขยายตลาดของเนื้อปลากลุ่มดังกล่าว
 
 
 
ที่มา : TheFishSite (12 มิ.ย.55)
 
 
 
 
 

Is this article useful?