ความพยายามในการเรียกร้องให้ระงับการใช้ bisphenol A (BPA) ของ National Resource Defense Council (NRDC) ยังไม่สูญเปล่า เมื่อทาง FDA ยืนยันจะวิเคราะห์ความเสี่ยงในการก่อให้เกิดมะเร็งของ BPA โดยร่วมมือกับ National Institute of Environmental Health Sciences (NIEHS) ก่อตั้งโครงการวิจัยผลกระทบของ BPA ด้วยงบประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้ผลการศึกษาในขั้นต้นดังนี้
- ความเสี่ยงในการได้รับ BPA ของทารก น้อยกว่าค่าประมาณการถึง 84-92%
- BPA สามารถถูกขับออกจากร่างกายมนุษย์ได้เร็วกว่าในหนูทดลอง
- ในหนูที่ตั้งท้อง BPA ถูกถ่ายทอดผ่านรกไปยังตัวอ่อนได้น้อยมาก โดยการทดลองให้ BPA 1,000 เท่าจากปริมาณที่มนุษย์ได้รับจากอาหาร พบว่าไม่สามารถตรวจสอบปริมาณ BPA ได้หลังจาก 8 ชม.
BPA เป็นส่วนประกอบในบรรจุภัณฑ์อาหารประเภทพลาสติก เช่น ขวดนมทารก หลายงานวิจัยพบความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมในหนูทดลอง โดย NRDC ได้ยื่นคำร้องให้ทาง FDA ระงับการใช้ BPA ตั้งแต่ปี 2551 (ค.ศ. 2008) แต่กลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ให้ความเห็นว่า NRDC ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดการที่ BPA นั้นจะส่งผลต่ออาหารในบรรจุภัณฑ์แต่อย่างใด