นาย Hubert Weiger ประธานมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมเยอรมนี (BUND) กล่าวว่าจากการสุ่มตรวจตัวอย่างเนื้อไก่ 20 ตัวอย่างในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายสินค้าลดราคาในกรุงเบอร์ลิน
เมืองฮัมบูร์ก โคโลญจน์ เนิร์นแบร์ก และ สตุทท์การ์ท พบว่า 10 ตัวอย่างมี เอนไซมเบตา - แลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยาย (ESBL: Extended Spectrum Beta-lactamase) และ เชื้อสแตฟโลค็อคคัส ออรีอัส ที่ดื้อดานตอยาเมิธิซิลลิน (MRSA: Methicillin resistant Staphylococcus aureus) ปนเปื้อน ซึ่งการปนเปื้อนดังกล่าวเป็นผลมาจากใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินไปในสัตว์
มูลนิธิยังตั้งข้อสังเกตว่าการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินไปจะทำให้ต้องใช้ยาหลายชนิดในการรักษาสัตว์และมีระยะเวลาในการรักษามากขึ้น การใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินไป เช่น ยากลุ่ม cephalosporin การใช้สารปรุงแต่งอาหารสัตว์เพื่อเร่งการโตเจริญเติบโตของสัตว์จะทำให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น และนอกจากนี้แบคทีเรียดื้อยายังส่งผลร้ายต่อมนุษย์ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็กเล็กและสตรีมีครรภ์ และในกรณีที่ร้ายแรง การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาอาจทำให้เสียชีวิตได้
ทั้งนี้ คาดว่าในสหภาพยุโรป มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะกว่า 25,000 รายต่อปี