เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีนประกาศว่าจีนห้ามผลิตและจำหน่ายสาร ractopamine หรือสารเร่งเนื้อแดงโดยมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวัน 5 ธันวาคม 2554 ตามประกาศหน้าเวปไซต์ของกระทรวงฯ
คำสั่งห้ามผลิตและจำหน่าย ractopamine เป็นผลมากเหตุการณ์อื้อฉาวกรณีเนื้อสุกรปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงในช่วงฤดูใบไม้ผลิเมื่อมีการพบว่า Shuanghui Group บริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนซื้อสุกรที่ได้รับอาหารปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงเพื่อนำมาแปรรูป จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้จีนดำเนินการจับกุมการใช้สารเร่งเนื้อแดงทั่วประเทศ
นาย Yu Kangzhen หัวหน้าสัตว์แพทย์จีนกล่าวว่าสารเร่งเนื้อแดงมีประมาณ 10 ชนิด เช่น clenbuterol และractopamine โดยมีการค้นพบสาร clenbuterol ในสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2523 แต่ในปลายปี 2523 หลายๆประเทศ เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรปห้ามใช้สารดังกล่าวเนื่องจากอันตรายจากผลข้างเคียง เช่น อาเจียน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ และเมื่อต้นปี 2543 บริษัทแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ คิดค้นและพัฒนา ractopamine ซึ่งเป็นอันตรายน้อยกว่า ปัจจุบัน ประมาณ 20 ประเทศเท่านั้น เช่น สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโกที่อนุญาตให้ใช้สารเร่งเนื้อแดงชนิดนี้
จีนเริ่มใช้สารเร่งเนื้อแดงในต้นปี 2543 จนกระทั่งปี 2551 จีนเริ่มแสดงความกังวลต่ออันตรายจากสารเคมีเนื่องจากมีรายงานปอดติดเชื้อในมนุษย์เป็นครั้งแรกในมลฑลกวางตุ้ง ซึ่งสาเหตุเกิดจากการบริโภคเนื้อสุกรปนเปื้อน clenbuterol หลังจากนั้นในปี 2548 จีนจึงออกคำสั่งห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง เช่น ractopamine, clenbuterol และ salbutamol ในอาหารสัตว์และน้ำดื่มของสัตว์