TH EN
A A A

อียูแก้ไขระเบียบนำเข้าอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์จากญี่ปุ่น

7 July 2554   

                คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเพิ่มชื่อจังหวัดซิซูโอกะลงในบัญชีรายชื่อ 13 จังหวัดของญี่ปุ่นที่สหภาพยุโรปนำมาตรการพิเศษด้านการนำเข้าอาหารมนุษย์และสัตว์มาใช้และยกเลิกจังหวัดนิอิกาตะและยามากาตะในบัญชีรายชื่อดังกล่าว คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเพิ่มชื่อจังหวัดชิซูโอกะในบัญชีรายชื่อจังหวัดของญี่ปุ่นที่สหภาพยุโรปนำมาตรการพิเศษด้านการนำเข้าอาหารมนุษย์และสัตว์มาใช้หลังจากเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นตรวจพบใบชาซึ่งมีถิ่นกำเนิดในจังหวัดชิซูโอกะปนเปื้อนซิเซียมเกินกว่า 500 เบคเคอเรล ต่อกิโลกรัม ซึ่งระดับซิเซียมสูงสุดตามมาตรฐานที่ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปกำหนดไว้อยู่ที่ 500 เบคเคอเรล ต่อกิโลกรัม

              นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสสกัดการขนส่งใบชาเขียว ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในจังหวัดชิซูโอกะ ณ สนามบิน Roissy เนื่องจากใบชาเขียวดังกล่าวมีระดับซีเซียมเกินกำหนด โดยพบซีเซียมจำนวน 1,000 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม
 การนำรายชื่อจังหวัดนิอิกาตะและยามากาตะ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก และเหนือ/ตะวันตกเฉียงเหนือของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ตามลำดับ ออกจากบัญชีรายชื่อจังหวัดที่ยุโรปนำมาตรการพิเศษมาใช้เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ทดสอบตัวอย่างเกือบ 550 ตัวอย่าง ซึ่งมีผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ

             เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2554 คณะกรรมาธิการยุโรปด้านห่วงโซ่อาหารและสุขภาพสัตว์ (SCoFCAH) แสดงความเห็นเชิงบวกต่อการแก้ไขระเบียบ 297/2011 โดยคาดว่าจะลดจำนวนจังหวัดในญี่ปุ่นที่สหภาพยุโรปนำมาตรการพิเศษมาใช้เหลือ 12 จังหวัด และคาดว่าคณะกรรมาธิการจะลงมติยอมรับร่างระเบียบดังกล่าวภายในสัปดาห์นี้

            อาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ที่มาจากทั้ง 12 จังหวัดจะต้องถูกตรวจสอบการปนเปื้อนสารไอโอดีน -131 ซีเซียม- 134 ซีเซียม- 137 ก่อนนำออกจากญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปอาจจะนำมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดขึ้นมาใช้กับอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์เหล่านี้ ( เช่น การตรวจสอบทางกายภาพ ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อย่างน้อย 10 % ของอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ที่มาจากจังหวัดเหล่านี้ นอกจากนี้อาหารสัตว์และอาหารใน 35 จังหวัดที่เหลือจะต้องสำแดงจังหวัดต้นกำเนิดและจะถูกสุ่มตรวจเมื่อมาถึงสหภาพยุโรป

           ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะใช้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 แต่จะมีการทบทวนมาตรการนี้อีกครั้งในต้นเดือน กันยายน 2554

 
 
ที่มา : The Meat Site
 
 
 
 
 
 
 

Is this article useful?