TH EN
A A A

เตือนผู้ผลิตไทยรับมือกฎวัสดุสัมผัสอาหารใหม่อียู

22 February 2554   

                นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2554 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ลงมติรับรองกฎระเบียบฉบับใหม่ (Commission Regulation (EU) No. 10/2011of14January 2011) ว่าด้วยการใช้พลาสติกและวัสดุที่สัมผัสอาหาร เช่น ยาง ซิลิโคน และสาร ion exchange resins โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 และจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป
               ทั้งนี้สหภาพยุโรปให้ระยะเวลาปรับตัวในการปฏิบัติให้สอดคล้อง ตามข้อกำหนดของกฎระเบียบดังกล่าวระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2554ถึง 31 ธันวาคม 2558 กฎระเบียบใหม่ดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ที่เป็นสาระสำคัญ คือ
                 1.ขยายขอบเขตของพลาสติกที่เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร ให้รวมถึง plastic layers in multi material layer materials and articles
                 2.รวบรวมบัญชีรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัสดุสัมผัสอาหารได้ ซึ่งมีทั้งสิ้นจำนวน 885 รายการ รวมทั้งระบุค่า Specific migration limits (SML) ของสารบางรายการด้วย เนื่องจากอาจมีการถ่ายเทไปสู่อาหาร สำหรับสารที่ไม่ได้ระบุค่า SML ให้กำหนดค่า migration ได้ไม่เกิน 60 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ องค์ประกอบในพลาสติก ต้องไม่ถ่ายเทไปสู่อาหาร ในปริมาณเกิน 60 มิลลิกรัมต่อพื้นที่สัมผัสอาหาร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
                3.จำกัดการใช้โลหะและวัสดุบางชนิด เช่น แบเรียม เหล็ก สังกะสี รวมทั้งระบุปริมาณขั้นต่ำที่อนุญาตให้ถ่ายเทสู่อาหาร
               4.ข้อกำหนดในการทดสอบการถ่ายเทของสารและการเคลื่อนย้ายของสารจากบรรจุภัณฑ์สู่อาหาร (Migration Test) 
               5.เก็บรักษาเอกสารข้อมูลในแต่ละขั้นตอนการผลิต เพื่อพิสูจน์ว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ของกฎระเบียบดังกล่าวและสามารถแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเมื่อได้รับการร้องขอ
 นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า สหภาพยุโรปจะบังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 เป็นต้นไป ซึ่งหมายความว่าผู้ผลิตสินค้าจะต้องตรวจสอบวัสดุที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารมีการถ่ายเทไปสู่อาหารเกินระดับความปลอดภัยหรือไม่ รวมทั้งวิธีการทดสอบการถ่ายเทของสารและการเคลื่อนย้ายสารจากบรรจุภัณฑ์สู่อาหารด้วย

 
 
ที่มา : Voice TV
 
 
 
 
 

Is this article useful?