อังกฤษกำลังกดดันสหภาพยุโรปให้เปลี่ยนแปลงเรื่องการติดฉลากประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าซึ่งปัจจุบันยอมให้เนื้อนำเข้าขายโดยระบุว่าเป็นเนื้ออังกฤษได้ แกะของเวลล์เองหากส่งออกไปฝรั่งเศสแล้วชำแหละก็สามารถขายในฝรั่งเศสโดยระบุว่าเป็นเนื้อแกะฝรั่งเศสเช่นกัน การเคลื่อนไหวนี้มาจากสำนักงานมาตรฐานอาหาร (FSA) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนกฎหมายการติดฉลากโดยกรรมาธิการยุโรปปีนี้ข้อโต้แย้งสำคัญมาจากมาตรา 36 ของกฎหมายว่าการอธิบายทางการค้า 2511 ซึ่งระบุเรื่องนี้ว่า "สินค้าซึ่งประกอบการหรือผลิตในประเทศซึ่งดำเนินการเป็นแหล่งสุดท้ายโดยให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ" ประธาน FSA เชื่อว่าผู้บริโภครู้สึกว่าถูกหลอกลวงจากกฎที่ใช้อยู่ทุกวันนี้หากเนื้อที่นำเข้ามายังอังกฤษและมาดำเนินการอะไรเล็กน้อยๆแล้วระบุว่าเป็นเนื้ออังกฤษนั้นในขณะที่ผู้บริโภคย่อมเข้าใจว่าเนื้อนั้นมาจากสัตว์ที่ใช้ชีวิตและถูกเลี้ยงมาโดยตลอดในอังกฤษ กรณีเดียวกันกับ "Scot beef" เช่นเดียวกัน ในช่วงที่ไข้หวัดนกระบาดใน Suffolk มีการกำจัดสัตว์ปีก แต่ปรากฏว่ามีไก่งวงจำหน่ายโดยระบุว่า "product of Britain" เพราะมีการนำเข้าซากมาจากฮังการีแล้วมาตัดแต่งส่วนเนื้อหน้าอกและใส่ขนมปัง สำหรับการติดฉลากเนื้อที่สร้างความรำคาญใจให้ผู้บริโภคมากที่สุดคือเนื้อสำเร็จรูปซึ่งอาจระบุว่า "Product of the EU or South America" หรือผลิตภัณฑ์ไก่บางชนิดระบุว่า "Product of the EU , Brazil or Thailand" ผู้บริโภคควรจะมีความสงสัยเมื่อเห็นรูปชนบทอังกฤษพร้อมกับคำว่า "farmhouse" "original" "traditional" "wholesome" ในด้านหน้าของหีบห่อเพราะบางทีเมื่ออ่านในตัวพิมพ์แล้วปรากฏว่าเป็นเนื้อนำเข้า องค์กรผู้บริโภคให้การสนับสนุนข้อเรียกร้องของ FSA เนื่องจากเห็นว่าการให้ข้อมูลประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่ละเอียดจะช่วยในการพิจารณาเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารด้วย