TH EN
A A A

ไทยมั่นใจชนะขาดสหรัฐเลือกปฏิบัติ WTO ตั้งลูกขุนพิจารณา C-bond กุ้ง

28 February 2550   
               หลังจากสหรัฐได้ประกาศใช้มาตรการ continuous bond (C-bond)   ซึ่งเป็นเงินค้ำประกันเพิ่มจากการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การ ทุ่มตลาด (AD)  กับสินค้ากุ้งที่นำเข้าจากไทย  อินเดีย  บราซิล  เอกวาดอร์  จีน และเวียดนาม  โดยในปี 2549 เรียกเก็บเพิ่มจากเดิมเรียกเก็บเงินค้ำประกัน10% ของมูลค่า AD  ที่เรียกเก็บในปีก่อนเป็น 110% ( 10% อัตราเก่า + 100% อัตราใหม่)  ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ส่งออกกุ้งไทยมาก และในการคำนวณอากร AD สหรัฐยังใช้วิธีการคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดที่เรียกว่า zeroing คือ  ไม่ยอมนำ transaction ที่คำนวณ dumping margin ได้เป็นลบ มาหักกลบกับ  transaction ที่คำนวณ dumping margin ได้เป็นบวก ส่งผลให้อากร AD  ที่สหรัฐเรียกเก็บจากผู้นำเข้ากุ้งไทยและประเทศอื่นๆ สูงเกินจริง  ดังนั้นไทยจึงนำเรื่องเข้าสู่องค์กรระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก

              นายธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์  เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทย ประจำองค์การการค้าโลก  กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 WTO  ได้ตั้งคณะผู้พิจารณา (panel) คดีนี้แล้ว  ทั้งนี้จะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน  และคาดว่าจะทราบผลประมาณเดือนตุลาคมปีนี้ ซึ่งคณะผู้พิจารณาทั้งสามคนจากฮ่องกงเวเนซุเอลา และนิวซีแลนด์เป็นชุดเดียวกับที่พิจารณาคดีอินเดียฟ้องสหรัฐ เรื่อง C-bond  ไทยมั่นใจว่า การกระทำของสหรัฐขัดกับความตกลง AD  และขัดกับหลักการสำคัญต่างๆ ของ WTO เช่น การเลือกปฏิบัติ เพราะสหรัฐฯไม่ได้ใช้มาตรการ C-bond กับสินค้านำเข้าอื่นๆ  แต่เลือกใช้กับสินค้ากุ้งเท่านั้น

              นายธวัชชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีการคำนวณเอดีแบบ zeroing นั้น  ไทยมั่นใจว่าคณะผู้พิจารณาจะตัดสินให้ไทยชนะคดีเช่นกัน   เนื่องจากมีกรณีตัวอย่างที่แคนาดาและสหภาพยุโรปฟ้องสหรัฐเรื่อง zeroing
และองค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ได้ตัดสินแล้วว่า  มาตรการของสหรัฐไม่สอดคล้องกับ WTO นอกจากนี้
กระทรวงพาณิชย์จะทำหนังสือเร่งรัดการพิจารณาการทบทวน AD  เพื่อให้เกิดความยุติธรรมไปยังทูตพาณิชย์ไทยเพื่อส่งต่อไปยังผู้แทนการค้าสหรัฐ   (USTR) ในเร็วๆนี้

            สหรัฐฯเรียกเก็บภาษี AD   สินค้ากุ้งจากไทยตามข้อกล่าวหาของกลุ่มพันธมิตรชาวประมงกุ้ง 8 มลรัฐ (Southern  Shrimp Alliance :SSA)  ในอัตราร้อยละ 5.29 – 6.82 มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2547  ขณะเดียวกันกับที่ศุลกากรสหรัฐก็ได้ออกเงื่อนไขใหม่ภายใต้กฎหมาย continued  dumping and subsidy offset act (Byrd Amendment)  บังคับใช้ผู้นำเข้ากุ้งจากประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษี AD ต้องวาง “continous
bond” หรือ   การวางค้ำประกันเงินสดด้วยการคำ นวณจากยอดส่งออกกุ้งของบริษัทที่ถูกเรียกเก็บ AD
ในปีที่ผ่านมา เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้นำเข้ากุ้งที่ต้องแบกรับ AD  อยู่แล้วอาจจะเบี้ยวไม่จ่ายภาษี AD  หากมีการทบทวนอัตราการทุ่มตลาดตอนสิ้นปีแล้วพบว่ามีการดัมพ์ราคาขายกุ้งเกิดขึ้นมาอีก  ศุลกากรสหรัฐจะได้เรียกเก็บ AD
เพิ่มด้วยการเรียกเก็บจากบอร์นที่ผู้นำเข้าวางค้ำประกันไว้นั่นเอง

ฐานเศรษฐกิจ

Is this article useful?