จำนวนประเทศที่ปลูกพืช GMOs เป็นการค้ามี 22 ประเทศ ทั้งนี้พื้นที่ปลูกมีการขยาย ตัวเพิ่มเป็น 637.5 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้น 13 % ซึ่งประเทศที่มีการขยายตัวมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย อาฟริกาใต้
สหภาพยุโรปมีการเข้มงวดในเรื่องพืช GMOs มาก แต่พบรายงานการปลูกอยู่ 5 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส สาธารณเชค โปรตุเกส เยอรมนี และสโลวาเนีย
สัดส่วนของพืช GMOs ต่อพื้นที่พืชชนิดนั้นทั้งหมดที่สำคัญ ได้แก่ ถั่วเหลือง 64%, ฝ้าย 38%, คาโนลา 18%,ข้าวโพด 17%
พืช GMOs ชนิดใหม่ ได้แก่ อัลฟาฟ่าที่ทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช ได้ปลูกในเชิงการค้าในปี 2549 เป็นครั้งแรกในสหรัฐอมริกา
จำนวน 29 ประเทศได้มีการอนุญาตให้นำเข้าพืช GMOs เพื่อใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ รวมทั้งประเทศไทยด้วยที่มีการอนุญาตนำเข้าข้าวโพดและถั่วเหลือง
5 ประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นผู้นำด้านพืช GMOs ได้แก่ จีน (ฝ้าย) อินเดีย(ฝ้าย) อาร์เจนตินา(ถั่วเหลือง,ฝ้าย) บราซิล(ถั่วเหลือง,ฝ้าย,ข้าวโพด,อ้อย,ข้าว) และแอฟริกาใต้ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวโพดสำหรับมนุษย์บริโภค, ถั่วเหลือง ,ฝ้าย)
คาดว่าในปี 2551 ประเทศปากีสถานและเวียดนามจะมีการปลูกพืช GMOs เชิงการค้าด้วย
ในอนาคตพืช GMOs จะมีลักษณะพันธุกรรมร่วม 2-3 ลักษณะ ( stacked tracked ) และในระยะ 5 ปี เน้นเพิ่มลักษณะความทนแล้งด้วย สหรัฐฯและบราซิลจะเป็นผู้นำการพัฒนาพืช GMOs ด้านไบโอดีเซล เอธานอล-ไบโอเทค
และอีก 40 ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีประเทศผู้ปลูกพืช GMOs เพิ่มขึ้นประมาณ 40 ประเทศ จำนวนเกษตรกรเพิ่มประมาณ 20 ล้านคน และพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,250 ล้านไร่