จากรายงานของของศูนย์ศึกษานโยบายยุโรป (CEPS) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 ระบุว่าการค้าสิทธิปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาจไร้ผล หากไม่มีการจัดเก็บภาษีพรมแดน เพราะอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซพิษปริมาณสูง อาจย้ายออกจากสหภาพยุโรปไปยังประเทศอื่นที่ไม่จำกัดการปล่อยก๊าซ ดังนั้น CEPS จึงเห็นพ้องกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะการเก็บภาษีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปของภาษีพรมแดน (ภาษีนำเข้า) จะช่วยเพิ่มความตระหนักแก่ทั่วโลกและเป็นแรงจูงใจให้นานาประเทศลดการปล่อยก๊าซพิษ
อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันเสียงวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดดังกล่าว CEPS แนะว่า การจัดเก็บภาษีคาร์บอนไม่ควรละเมิดกฎการต่อต้านการผูกขาดขององค์การการค้าโลก ซึ่งมีข้อยกเว้นสำหรับมาตรการบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
CEPS เน้นว่า การเรียกเก็บภาษีคาร์บอน ควรดำเนินการกับสินค้านำเข้าจากประเทศที่ไม่มีระบบซื้อขายสิทธิปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือมาตรการเทียบเท่าอื่นๆ โดยสหรัฐฯ อาจได้รับการยกเว้น เนื่องจากคาดว่าจะออกระบบซื้อขายสิทธิปล่อยก๊าซคาร์บอนของตัวเองในอนาคต และมีการคำนวนว่า ภาษีก๊าซคาร์บอนควรสูงกว่าภาษีทั่วไปประมาณ 3-4% โดยอัตราภาษีควรขึ้นอยู่กับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ เช่นภาษีสำหรับบราซิลควรอยู่ที่ระดับ 4% ขณะที่รัสเซีย ซึ่งใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ควรเสียภาษี 16% ส่วนจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงที่สุดในโลก อาจะต้องเสียภาษีประมาณ 8-9%
อย่างไรก็ดี แนวคิดการจับเก็บภาษีคาร์บอนยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และนางคอนนี เฮเดอกาด กรรมาธิการภาวะโลกร้อนของสหภาพยุโรปยอมรับว่าแนวคิดนี้ซับซ้อนมาก