TH EN
A A A

EU กำหนดชนิดของสารกำจัดศัตรูพืชภายใต้การสุ่มตรวจเข้ม 50% สินค้าผักนำเข้าจากไทย

26 March 2553   
               ตามที่คณะกรรมธิการยุโรปออกมาตรการคุมเข้มตรวจเข้มผักไทยทันที 50% ณ ด่านนำเข้า โดยเป็นการตรวจหาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผัก 3 ประเภทหลัก อันได้แก่ ผักในตระกูลถั่ว (beans) มะเขือ (aubergines) และกะหล่ำ (Brassica vegetables) นั้น ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553 นั้น กฎระเบียบดังกล่าวไม่ได้ระบุชนิดของสารกำจัดศัตรูพืชทำให้เป็นภาระหนักของเจ้าหน้าที่ด่านนำเข้าทุกแห่งในสหภาพยุโรปที่ต้องตรวจหาสารกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด ส่งผลให้มีการร้องเรียนจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
 
                สหภาพยุโรปจึงต้องกำหนดรายชื่อสารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นเป้าหมายการตรวจเข้ม 50% เพื่อเป็นการลดเวลาและบรรเทาภาระที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2553 สหภาพยุโรปได้มีการประกาศกฎระเบียบเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว ใน EU Official Journal L 65 V 16 ว่าด้วย Commission Regulation (EC) No 212/2010 มีสาระสำคัญดังนี้

1. ระบุชนิดของสารกำจัดศัตรูพืชที่ทางด่านนำเข้าจะต้องสุ่มตรวจหา ในส่วนที่เกี่ยวข้องของไทย มีรายชื่อดังนี้
 
                -Acephate
                -Carbaryl
                -Carbendazim
                -Carbofuran
                -Chlorpyriphos
                -Chlorpyriphos-ethyl
                -Dimethoate
                -Ethion
                -Malathion
                -Metalaxyl
                -Methamidophos
                -Methomyl
                -Monocrotophos
                -Omethoate
                -Prophenophos
                -Prothiophos
                -Quinalphos 
                -Triadimefon 
                -Triazophos 
                -Dicrotophos
                -EPN
                -Triforine 
 
                สารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกคัดเลือกมาทั้งหมดนี้ ประมวลจากฐานข้อมูลที่สหภาพยุโรปตรวจพบการตกค้างในสินค้าผักและมีรายงานผลผ่านระบบเตือนภัยด้านอาหารและอาหารสัตว์ของสหภาพยุโรปในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กฎระเบียบฉบับนี้ มีผลย้อนหลัง กล่าวคือ ให้มีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2553 รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์

http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2010:065:0016:0022:EN:PDF
 
 
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงบรัสเซลล์ สหภาพยุโรป

Is this article useful?