เมื่อปี 2550 สหราชอาณาจักรได้จัดทำโครงการ The Waste and Recourses Action Programme (WRAP) โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าของแบรนด์และผู้ค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการ และคณะกรรมการบริหารทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (ERM) เพื่อประเมินวัฏจักรชีวิต (Life cycle assesment, LCA) ของบรรจุภัณฑ์นมที่ใช้สำหรับขายปลีกและส่งตามบ้าน พบว่า บรรจุภัณฑ์นมที่ขายปลีกมีข้อดี คือ มีน้ำหนักเบา และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อพิจารณาบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ เช่น HDPE PET ถุง กล่องกระดาษ พบว่ามีความแตกต่างระหว่างบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิดอยู่บ้าง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนำ HDPE 1 ตัน กลับมาใช้ใหม่ จะช่วยลดปริมาณ CO2 ที่ปลดปล่อยได้ถึง 1 ตัน ในขณะที่ PET จะช่วยลด CO2 1.7 ตัน และแก้วจะช่วยลด CO2 0.3 ตัน เมื่อเทียบกับการฝังกลบมูลฝอย ยกเว้นในกรณีขยะจากกล่องกระดาษที่ให้พลังงาน แต่อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ