TH EN
A A A

บังคลาเทศเตรียมออกกฎหมายปกป้องอาหารทะเลจากสารพิษ

29 December 2552   
                 เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบังคลาเทศ เปิดเผยว่าจะผ่านกฎหมายอาหารสำหรับสัตว์น้ำและสัตว์ฉบับปรับปรุงที่เข้มงวดมากขึ้นในการประชุมรัฐสภาที่จะมาถึง โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำควบคุมไม่ให้มียาปฏิชีวนะตกค้างในสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง
               
                  เมื่อต้นปี 2552 สหภาพยุโรปได้ปฏิเสธที่จะนำเข้ากุ้งน้ำจืดของบังคลาเทศหลายเที่ยวเนื่องจากตรวจพบยาปฏิชีวนะ Nitrofuran ตกค้าง ทำให้รัฐบาลบังคลาเทศห้ามส่งออกกุ้งอย่างสมัครใจในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งการห้ามส่งออกดังกล่าวยังคงมีผล แม้ว่าปัจจุบันเกษตรกรและผู้ส่งออกยืนยันว่าไม่ได้ใช้ Nitrofuran แล้วก็ตาม
การพบ Nitrofuran ตกค้างทำให้เกิดความตระหนักในเรื่องอันตรายจากปลาคุณภาพต่ำและอาหารสัตว์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องของกฎหมาย ส่งผลให้รัฐบาลบังคลาเทศพบ ปัญหาดังนี้
               
                1. ผู้ผลิตอาหารสัตว์และผู้จัดส่งในท้องถิ่นไม่ได้ขึ้นทะเบียน และประกอบการโดยไม่มีใบอนุญาต ทำให้มีสินค้าที่มีคุณภาพต่ำหรือขาดคุณภาพ เช่น อาหารสัตว์ สารเคมี และยาปฏิชีวนะ จำหน่ายในตลาด
               
                2. ส่วนผสมอาหารสัตว์ เช่น โปรตีนเข้มข้น ปนเปื้อนสารอันตราย Metabolite และ Chloramphenicol
                
                3. เกษตรกรยังใช้มูลสัตว์ปีก ซึ่งมี Nitrofuran ในปริมาณสูงในการเลี้ยงปลาหรือปรับคุณภาพน้ำให้มีแร่ธาตุมากขึ้น
               
                Maksudar Rahman รองประธานองค์การส่งออกอาหารแช่แข็งของบังคลาเทศ (BFFEA) กล่าวว่า กฎหมายนี้จะช่วยรักษาคุณภาพของอาหารทะเลในประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นหากต้องการจะเป็นผู้นำในการส่งออก
               
                นอกจากนี้ ผลการวิจัยของโครงการสนับสนุนสินค้าคุณภาพของบังคลาเทศ (BQST) ได้เปิดเผยว่า จากตัวอย่างทั้งหมด 160 ชนิด ในเขตฟาร์มกุ้งขนาดใหญ่ได้แก่ Khulna Bagerhat และ Jessore พบว่ามีการปนเปื้อนในอาหารกุ้ง 11 ชนิด อาหารปลา 10 ชนิด อาหารสัตว์ปีก 8 ชนิด และส่วนผสมอาหารสัตว์ 9 ชนิด มีการปนเปื้อนสาร Nitrofuran และ Chloramphenicol
 
ที่มา : FIS

Is this article useful?