TH EN
A A A

สถานการณ์กุ้งส่งออกไปอียู

26 November 2552   
                 ปัจจุบันผู้ส่งออกกุ้งไปยังสหภาพยุโรปรายสำคัญมีอยู่ 7 ประเทศ คือ เอควาดอร์ อาร์เจนตินา อินเดีย บังคลาเทศ จีน ไทย และ เวียดนาม 
                 โดยเอควาดอร์ซึ่งเป็นผู้ส่งออกกุ้งไปยังสหภาพยุโรปเป็นอับดับหนึ่ง กลับสูญเสียมูลค่าการส่งออกถึง 56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม เนื่องจากมีผลผลิตในสหรัฐฯ และในสหภาพยุโรปลดลงเมื่อเทียบกับปี 2551 ส่งผลให้เอควาดอร์มีรายได้ลดลง15% ส่วนการส่งออกกุ้งไทยไปยังสหภาพยุโรปมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยมีสหราชอาณาจักร สเปน และเยอรมนีเป็นตลาดสำคัญ แม้ราคาขายจะต่ำลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ปีนี้ไทยอาจเพิ่มปริมาณผลผลิตกุ้งมากกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 5% เป็น 390,000 ตัน ในขณะที่ ปีนี้จีนเพิ่มการส่งออกเป็น 2 เท่าจากปีก่อน คิดเป็น 6,970 ตัน โดยส่งออกไปยัง ญี่ปุ่น สเปน เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร 
                 ขณะนี้ ภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิตกุ้งอินเดียมีนโยบายที่จะเปลี่ยนทิศทางการผลิตกุ้งกุลาดำ ไปเป็นกุ้งขาว มากขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไป เนื่องจากกุ้งขาวให้ผลผลิต-กำไรที่มากกว่า รวมทั้งทนต่อโรคและง่ายต่อการเลี้ยงดูและการให้อาหาร  
                 ปัจจุบันเอควาดอร์ โดยบริษัท Expalsa เตรียมขยายการส่งออกกุ้งอินทรีย์ หลังจากที่ตลาดกุ้งอินทรีย์ซบเซาในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กุ้งอินทรีย์มีราคาขายสูงกว่ากุ้งธรรมดา 25% บริษัท Expalsa มีอัตราการส่งออกกุ้งอินทรีย์ 20% และกุ้งธรรมดา 80% โดยมีมูลค่าโดยรวมต่อปี 180 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี มีตลาดผู้รับซื้อกุ้งอินทรีย์รายใหญ่ คือ เยอรมนี สหราชอาณาจักร แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส
                 ทั้งนี้ ไทยควรเพิ่มการส่งออกกุ้งไปยังสหภาพยุโรปเพื่อทดแทนสินค้าสัตวน้ำอื่นซึ่งอาจะประสบปัญหาที่ต้องมีใบรับรองการจับสัตว์น้ำประกอบการส่งออกทุกล็อตสินค้าตาม กฎระเบียบว่าด้วยการป้องกัน ต่อต้าน และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2553
 
 
 
 
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Is this article useful?