TH EN
A A A

บราซิลทดลองใช้หัวกุ้งบำบัดน้ำเสีย

18 November 2552   
               คณะนักวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยการใช้เอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาและเคมีสังเคราะห์ของมหาวิทยาลัย South Santa Catarina ประเทศบราซิลค้นพบว่า หัวกุ้งและเปลือกกุ้งที่ถูกทิ้งโดยผู้บริโภคถึง 500 กรัม/กิโลกรัม นั้นมีปริมาณเอนไซม์ที่สามารถใช้บำบัดน้ำเสีย (Black water) และของเสียจากอุตสาหกรรมได้ในปริมาณมาก โดยเฉพาะในหัวกุ้งืฟ และยังสามารถดูดซับสารอันตรายในน้ำที่ปนเปื้อนได้
              
                ผู้ทำการทดลอง ยืนยันว่า หัวกุ้งและเปลือกกุ้งมีเอนไซม์ออกซิไดซ์ (Oxidizing enzyme) และเอนไซม์ไลเปส (Lipases) ในปริมาณที่สามารถใช้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการย่อยสลายสารปนเปื้อนในน้ำเสีย และกล่าวว่าวิธีบำบัดน้ำเสียที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีข้อเสียหลายจุดเช่น ต้นทุนสูง ประสิทธิภาพต่ำ และมีผลพลอยได้ (By -product) ที่บางครั้งเป็นอันตรายมากกว่าสารที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสีย
            
               หลังจากการค้นพบดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามพัฒนาที่กรองชีวภาพ (Biological filter) เพื่อใช้ดูดซับสารอันตรายต่างๆง่ายขึ้นในบริเวณแหล่งน้ำปนเปื้อนหรือโรงงานบำบัดน้ำเสีย
ทั้งนี้ เอนไซม์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้จะทำให้การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพมากขึ้นและใช้พื้นที่ของโรงงานบำบัดน้ำเสียลดลงกว่าปัจจุบัน
 
ที่มา : FIS

Is this article useful?